การทำแท้ง: มุมมองด้านกฎหมาย สิทธิเสรีภาพ การแพทย์ และจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • วัชรากรณ์ อนุพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

การทำแท้ง, สิทธิและเสรีภาพ, ศีลธรรมและจริยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำแท้งและนำเสนอมุมมองในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง ทั้งในด้านกฎหมาย สิทธิและเสรีภาพ การแพทย์และสาธารณสุข ศีลธรรมและจริยธรรม เมื่อทำการทบทวนบทความและงานวิจัยทางเอกสารซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก บทความ วารสาร สืบค้นข้อมูลจาก Internet และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการยอมรับ

             จะเห็นว่ามีบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการทำแท้งที่สะท้อนและนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันและเป็นประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวทางที่นำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทำแท้งและเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในแง่ศีลธรรมและจริยธรรม โดยผู้เขียนคาดว่าเมื่อองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว ได้ใช้เหตุผลในการไตร่ตรอง คิดและพิจารณามุมมองทางความเหมาะสมในด้านต่างๆ จะทำให้การแก้ไขหรือการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและเหมาะสมเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และทำให้มุมมองของสังคมที่มองภาพผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง มีมุมมองที่กว้างไกลและลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน

References

1.ภาษาไทย
1) หนังสือ
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2) วิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ / สารนิพนธ์ / รายงานการวิจัย
พระสุรินทร์ อินฺทว โส (อาจินลพัฒน์).(2555).การทำแท้งในสังคมไทย:ปัญหาและทางออกตามทัศนะของพระพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สาคร ศรีดี. (2545). วิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี: ศึกษาเฉพาะ กรณีเพลงอีแซว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล
3) แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์
พระมหา วีระ วีระ กิตฺติวณฺโณ.(2552).”การทำแท้ง”พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาการทำแท้ง
https://www.gotoknow.org/posts/317271
อำนาจ กุสลานันท์.(2554). นิติเวชศาสตร์ทำแท้ง กฏหมาย แพทยสภา
https://w1.med.cmu.ac.th/
มโน เลาหวณิช.(2564).กฎหมายทำแท้งในประเทศไทยเป็นธรรมหรือไม่?
https://thaipublica.org/
สุไลพร ชลวิไล.(2564).กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ จะเปลี่ยนอะไรสังคมไทยไหม?.ประชาไทย
https://prachatai.com/journal/2021/02/91631
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล.(2564).เสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” จัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-abortion-law/
ปกป้อง ศรีสนิท ((2564).เสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติกาใหม่” จัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-abortion-law/
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล (2564).เสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” จัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-abortion-law/
วรพจน์ เชาวะวณิช (2564). (2564).เสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ ใหม่” จัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-abortion-law/
ญาดา เดชชัย(2564).เสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” จัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-new-abortion-law/
iLaw.(2563).เปิดกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ #ทำแท้งปลอดภัย ได้ในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
https://ilaw.or.th/node/5816

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23