แนวทางการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนของพระสงฆ์ในกลุ่มประเทศ ตามแนวภูเขาพนมดงรัก: ไทย กัมพูชา และลาว

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ วัดโพธิพฤกษาราม ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, พระสงฆ์, การศึกษา, ภูเขาพนมดงรัก

บทคัดย่อ

        อารยธรรมพนมดงรัก เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในอาณาบริเวณนี้ โดยเฉพาะอารยธรรมที่มีพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางการสืบต่อของอารยธรรม ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนได้กำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้ 4 ประเด็น คือ 1) เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของอารยธรรมพนมดงรัก  2) เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาตามแนวเขาพนมดงรัก 3) เพื่อนำเสนอการศึกษาของสงฆ์ตามแนวเขาพนมดงรัก และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนของประเทศตามแนวเขาพนมดงรักโดยผ่านมิติการศึกษาสงฆ์ บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พนมฎองแหรก หรือ ภูเขาพนมดงรักที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน เป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ด้านภาคอีสานใต้ของประเทศไทย เป็นเขตพรมแดนไทยกับกัมพูชาโดยเริ่มจากที่ราบสูงโคราชทอดตัวยาวไปทางทิศตะวันออกถึงปราสาทวัดพู เมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในสองฝั่งของพนมดงรักนี้ ปรากฏร่องรอยอายธรรมที่มีมาตั้งแต่อดีต 3,000 ปีล่วงมาแล้ว และยังคงมีกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ อาศัยตั้งถิ่นฐานในแถบเทือกเขาพนมดงรักอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏเป็นศาสนสถาน คือ ปราสาทหิน แหล่งโบราณสถานต่าง ๆ หรือวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในอดีต เช่น เครื่องมือโลหะต่าง ๆ รวมทั้งภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และในแง่ของวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น วัฒนธรรมข้าว วัฒนธรรมการแต่งตัว วรรณกรรมต่าง ๆ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นต้น หากต้องการเห็นความยั่งยืนของการจัดการศึกษาพระสงฆ์ตามแนวเขาพนมดงรัก และมีผลเชิงรูปธรรมมากขึ้น ก็ควรมีการบูรณาการหลักการทำงานด้วยหลัก “บวร” คือ “บ้าน วัด หน่วยงานราชการหรือโรงเรียน” ของทั้ง 3 ประเทศในแทบเทือกเขาพนมดงรัก ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาสงฆ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยใช้ความเป็นวัฒนธรรมพุทธอันเดียวกันมาเป็นเครื่องหล่อหลอม หรือเป็นสะพานเชื่อมคนในตามแนวเขาพนมดงรักให้ได้เข้าถึงแก่นพุทธธรรมอันเดียวกัน

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2555). ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

สุเนต โพธิสาร. (1979). ประวัติศาสตร์ลาว. เวียงจันทร์. กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรม.

จันสุข สุริยจักร. (2544). วัฒนธรรมลาว. บทบรรยายทางสถานีวิทยุเอเชียเสรี. 17 มิถุนายน 2544.

พระโสภณพัฒนบัณฑิต และคณะ. (2556). “พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประขาชนลาว: ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคม”. รายการงานการวิจัย.พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลีลา วีรวงศ์. (1985). ประวัติศาสตร์ลาว. เวียงจันทร์: โรงพิมพ์แห่งรัฐ.

________. (2010). ประวัติพระเจดีย์โลกจุลามานี หรือพระธาตุหลวงเวียงจันทร์. เวียงจันทร์: พระไซกราฟฟิก.

พระมหาจันดา ดันบัวลี. (2528). แผนการทำลายพุทธศาสนาในลาว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพปัญญา.

พระหลักคำจันทะบุรีเมทาจารย์. (2518). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาลาว. เวียงจันทร์: ศูนย์การพิมพ์ลาว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29