การศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชน ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “กลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเครือข่ายของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยใช้เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ด้านการท่องเที่ยวปราสาทขอม หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้ข้อมูลหลักประจำแหล่งท่องเที่ยวชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อธิบาย สรุปเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่ากลไกที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วยกลไกระดับนโยบายประกอบด้วยนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการท่องเที่ยวโบราณสถาน นโยบายระดับพื้นที่เช่นหน่วยงานระดับจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กรมศิลปากรโดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุรินทร์ที่มีนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนอนุรักษ์และการท่องเที่ยวปราสาทขอมอย่างเป็นรูปธรรม กลไกระดับพื้นที่เช่นองค์กรบริหารส่วนตำบลชุมชนหมู่บ้าน ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวปราสาทขอมจังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ยังมีกลไกมหาวิทยาลัยเช่นมหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรราชวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์ที่มีนโยบายเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับปราสาทขอมทำให้มีการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์อย่างเป็นรูปธรรม การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมประกอบด้วยชุมชนปราสาทขอม 4 แห่งคือ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี่ ปราสาทภูมิโปนและปราสาทตาเมือน การเสริมสร้างเครือข่ายทั้ง 4 แห่งยังไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนัก ยังอยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ การประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวปราสาทขอมยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
References
จารุวรรณ พึ่งเทียร.(2555). พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย : ธรรมชาติความรู้และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตว์.
สุพร ประเสริฐราชกิจ. (2537). รวมประวัติและลัญลักษณ์ 76 จังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (1977) จำกัด.
กฤษนันท์ แสงมาศและคณะ. (2561).“การพัฒนาระบบ GPS เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ปราสาทโบราณจังหวัดสุรินทร์”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์และคณะ. (2560). “การศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ในอีสานใต้”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัมภาษณ์ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.
สัมภาษณ์ พรเพ็ญ บุญญาทิพย์. หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานจังหวัดสุรินทร์.
สัมภาษณ์ นางสาวสิริลักษณ สิงคเสลิต. มัคคุเทศก์น้อย โรงเรียนบ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์.
สัมภาษณ์ นายไพทูลย์ พินิจทรัพย์. ปราชญ์ประจำตำบลช่างปี อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์.
สัมภาษณ์ นายธวัชชัย รัตสงคราม. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์.