การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูศรีปรีชากร วัดศรีเอี่ยม กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, เส้นทางการท่องเที่ยว, ปราสาทขอม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ    

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อพัฒนาคู่มือการท่องเที่ยวตามเส้นทางชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีแหล่งอารยธรรมขอมขอมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งในอีสานใต้ โดยเฉพาะปราสาทขอมซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ คุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาศาสนาและวัฒนธรรมคือที่สำหรับใช้สัญจรเที่ยวไปมาของมนุษย์ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในระยะเวลาสั้น ๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยเส้นทางการท่องเที่ยวปราสาทขอมในงานวิจัยนี้มี 4 แห่ง คือปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี ปราสาทภูมิโปน และปราสาทตาเมือน ในการเดินทางเพื่อไปเที่ยวชมหรือไปศึกษาปราสาททั้ง 4 แห่งนั้นเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวสะดวกที่สุดหรือจะใช้การเช่ารถไปก็ได้      เส้นทางการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์มีความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวปราสาทขอมหรือการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมกับจังหวัดใกล้เคียงเช่นนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในการเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์แล้วยังได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวด้านอื่นที่มีอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ด้วยเช่น การเที่ยวไหว้พระที่ศักดิ์สิทธ์เช่นหลวงพ่อพระชีว์วัดบูรพาราม พระศรีอริยเมตไตร วัดศาลาลอย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์เป็นต้น

References

กฤษฎา พิณศรี. (2548). การศึกษาศิลปกรรมแบบเขมรในจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์.

จารุวรรณ พึ่งเทียร.(2555). พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จังหวัดสุรินทร์. (2556). เส้นทางอารยธรรมมรดกล้ำค่าสุรินทร์. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์: มปพ.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการทองเที่ยว. พิมพครั้งที่7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตว์.

สุพร ประเสริฐราชกิจ. (2537). รวมประวัติและลัญลักษณ์ 76 จังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (1977) จำกัด.

กฤษนันท์ แสงมาศและคณะ. (2561). “การพัฒนาระบบ GPS เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ปราสาทโบราณจังหวัดสุรินทร์”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์และคณะ. (2560). “การศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ในอีสานใต้”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สัมภาษณ์ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.

สัมภาษณ์ พรเพ็ญ บุญญาทิพย์. หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานจังหวัดสุรินทร์

สัมภาษณ์ นายราชัย ดวงใจ. กำนันตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

สัมภาษณ์ นายไพทูลย์ พินิจทรัพย์. ปราชญ์ประจำตำบลช่างปี อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

สัมภาษณ์ นายธวัชชัย รัตสงคราม. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25