เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูศรีปัญญาวิกรม เจนทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระมหาพจน์ สุวโจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม

บทคัดย่อ

บทนำ

เดวิด อาร์. ลอย เป็นศาสตราจารย์ทางจริยศาสตร์/ศาสนาและสังคมที่มหาวิทยาลัยเซเวียร์ (Xavier University) เมืองโฮไอโอ สหรัฐอเมริกา และเป็นอาจารย์เซนในสายโอกุน ยามาดา มีผลงานตีพิมพ์ เช่น Nonduality: A Study in Comparative Philosophy, Lack and Transcendence: Death and Life in Psychotherapy, Existentialism and Buddhism, A Buddhist History of the West: Studies in Lack เป็นต้น รวมทั้งผลงานเรื่อง “เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม” พรรณงาม เง่าธรรมสาร ซึ่งแปลจากเรื่อง Money Sex War Karma

พรรณงาม เง่าธรรมสาร ผู้แปล “เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม” สำเร็จการศึกษาด้านประวัติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์สอนด้านประวัติศาสตร์ที่

 

 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช มีผลงานแปล และแปลร่วมหลายเล่ม เช่น จิตสำนึกใหม่แห่งเอเชีย เล่ม 1-4  รัฐในพม่า ผลงานของ โรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา ของเดวิด พี.แซนด์เลอร์ อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม โดย เบนจามิน เอ.บัทสัน  สังเขปประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบิลตัน ออสเบอร์น เป็นต้น รางวัล “หนังสือแปลดีเด่น ประเภทสารคดี” จากกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2542 ถือเป็นเครื่องการันตีสถานะของผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

เนื้อหาหนังสือโดยภาพรวม แสดงถึงข้อกังวลเป็นพิเศษของเดวิด อาร์. ลอย กับการเผชิญหน้ากันระหว่างความคิด และแนวปฏิบัติทางพระพุทธศาสนากับโลกร่วมสมัย การเผชิญหน้าที่เขาเชื่อว่ามีศักยภาพที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน  เขาใช้แนวทางที่มีอยู่อย่างกว้างขวางในการตีความพระพุทธศาสนาผ่านการวิเคราะห์ประเด็นที่ขาดหายไป การแสดงทรรศนะอย่างตรงไปตรงมาของลอย แสดงถึงความจริงใจ และจริงจังที่ต้องการเห็นการตระหนักรู้ร่วมกัน ทั้งในแง่ของปัจเจก และในแง่ของสังคม เพราะโดยที่สุดแล้ว ลอยก็มีความเชื่อว่า ต่อให้พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่งดงามเพียงใดก็ตาม แต่แรงปะทะจากสังคมที่ขับเคลื่อนในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับหลักคำสอนก็มีพลังที่จะทำให้กำลังของคำสอนที่ดีงามนั้นถูกบดบังไป การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล จึงต้องเปลี่ยนแปลงระดับสังคมด้วย เพราะต่างก็อิงอาศัยกัน เช่น ลอยพูดถึงรากฐานของความดี-ชั่วที่เรียกว่ากุศลมูล-อกุศล 3 ประการ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ- อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ซึ่งพุทธศาสนาแบบจารีตมักจะเน้นอยู่ในระดับปัจเจก ขณะที่ในความเป็นจริง สังคมยุคใหม่ได้สร้างรากฐานของอกุศลมูลให้กลายเป็นสถาบันหลักของประเทศ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการทหาร และด้านการสื่อสาร โดยที่ระบบกลไกเหล่านี้ได้ปลุกปั่นให้คนตกอยู่ในกระแสความทุกข์ที่ยากจะถอนตัวออกได้ พลังของปัจเจกจะสามารถต้านกระแสอันทรงพลังนี้ได้อย่างไรบทความทั้งหมดของเดวิด อาร์.ลอย ทั้ง 15 เรื่อง จึงเหมือนเป็นกระจกให้ชาวพุทธได้ตระหนักรู้ และปรับตัว เพื่อให้สามารถรับมือกับกระแสของกิเลสที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้บนพื้นฐานที่สาระสำคัญของแก่นคำสอนไม่เสียจุดยืนของตัวเองด้วย ดังนั้น การพบกันระหว่างพระพุทธศาสนากับตะวันตก จึงต่างต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

References

เอกสารอ้างอิง

เดวิด อาร์.ลอย. (2555). เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม. พรรณงาม เง่าธรรมสาร ผู้แปล, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

David R. Loy, Money. (2008). Sex, War, Karma: notes for a Buddhist revolution. USA: Wisdom Publication, Inc.

___________. (2003). The Great Awakening: A Buddhist Social Theory. USA: Wisdom

Publication, Inc.

___________. (2010). The World is made of Stories. USA: USA: Wisdom Publication, Inc.

Dhamacâri Nâgapriyâ. (2508). Review: Money, Sex, War, Karma: Notes for a Buddhist

Revoloution. www.nagapriya.com. [15 มีนาคม 2565].

Wayne Codling. Review: Money, Sex, War, Karma: Notes for a Buddhist Revoloution, https://thecjbs.org/wp-content/uploads/2020/08/Codling_Money-Sex-War-Karma_119-121.pdf [15 มีนาคม 2565].

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25

ฉบับ

บท

บทวิจารณ์หนังสือ