การปฏิบัติธรรม คือ วิถีทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
การปฏิบัติธรรม,, วิถีทาง,, ความสุขที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การปฏิบัติธรรมเป็นการเอาธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน จนทำให้ชีวิตมีการอยู่ด้วยธรรม คือรู้ความสงบภายในจิตใจ เป็นกระบวนการพัฒนาจิตใจและปัญญาที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า วิปัสสนา การปฏิบัติธรรมมีความสำคัญในด้านการพัฒนาตน เพราะทำให้ตนมีความเจริญในธรรมตามลำดับ พระพุทธศาสนาเรียกว่า ภาวนาและมีความสำคัญด้านการดับทุกข์ เมื่อมีการพัฒนากาย ศีล จิตใจ และปัญญาแล้ว ก็จะช่วยให้มีศัพยภาพก้าวข้ามทุกข์ประจำสังขาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์รวบยอด คือ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เป็นต้น ส่วนสติปัฏฐาน 4 คือหลักการปฏิบัติธรรม ได้แก่ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา และมีองค์ธรรม 3 ประการ คือ อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส สัมปชาโน มีความรู้สึกตัว และสติมา มีความระลึกได้ จนรู้เห็นสามัญลักษณะคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจสภาวะนั้นตามความเป็นจริง และกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการเข้าถึงสุขที่ยั่งยืน
References
เอกสารอ้างอิง
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________ . (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันตรี ป. หลงสมบูรณ์. (2546). พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 86. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมาลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระญาณโปนิกเถระ. (2553). หัวใจกรรมฐาน. แปลโดย พลตรีนายแพทย์ชาญ สุวรรณวิภัช, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศยาม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 43. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ผลิธัมม์.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2551). มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. แปลและเรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: หอรัตนชัยการพิมพ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2501). ธรรมวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.