การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักธรรมในยุคโควิด -19

ผู้แต่ง

  • พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ยุภาพร ยุภาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, หลักธรรม, โควิด – 19

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การดำรงชีวิตในสังคมท่ามกลางสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19  มีมุมมองที่ว่าคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมจะเป็นพื้นฐานในการต่อสู้กับโรคภัยต่างๆที่แพร่ระบาดและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพในสังคม การดำรงอยู่ของชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุขจึงเป็นแนวคิดที่ใช้กันจนคุ้นชินในทุกบริบท แต่อย่างไรก็ตามการมองคุณภาพชีวิตจากคนต่างกลุ่ม ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ต่างเศรษฐกิจ และต่างเป้าหมายก็มีความต่างกัน องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตบางประเด็นก็จะต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการมองความหมายของชีวิตและคุณภาพมีความต่างกัน คุณภาพชีวิต (Quality of Life) ตามแนวคิดของ องค์การอนามัยโลก หมายถึง คุณภาพชีวิต เป็นการรับรู้ใน บริบทที่ดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและระบบคุณค่า ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายความคาดหวังมาตรฐาน และการตระหนักของแต่ละบุคคล คุณภาพชีวิต หมายถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสิ่งแวดล้อมทางชีวกายภาพ เช่น เชื้อชาติ วัฒนธรรมและการเลี้ยงดู เศรษฐกิจรวมทั้งสถานภาพการศึกษา อนามัย ซึ่งความเป็นจริงแล้วชีวิตมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคนๆนั้น  สภาพความเป็นอยู่ของบุคคลทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ความคิด และจิตใจ ซึ่งรวมเอาทุกด้านของชีวิตไว้ทั้งหมดคุณภาพชีวิตมีบทบาทสำคัญในแง่ความผาสุกของมนุษย์ ซึ่ง คุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับสวัสดิการมนุษย์และความสุข

References

เอกสารอ้างอิง

เกษม จันทร์แก้ว.(2544). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

จีราพร ทองดี และคณะ. (2555). “ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้”. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่ 22 ฉบับที่ 3.

สัมพันธ์ พิชยทายา. (2549). “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนค่ายทหารกองทัพบกมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชวรมุนี อ้างถึงในสนั่น ราชทิพย์. (2541). “แนวทางการสร้างเสริมคุรภาพชีวิตในการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมพันธ์ พิชยทายา. (2542). “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนค่ายทหารกองทัพบกมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระสิทธิเดช สีลเตโช. (2563). การพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน ตามแนววิถีพุทธ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phd.mbu.ac.th. [3 ธันวาคม 2563].

เดชา บุญมาสุข. (2558). “การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

World Health Organization.(1997) Programed on Mental Health: WHOQOL Measuring Quality of Life. Geneva: WHO

Oliver, J.P.J. et al..(1996). Quality of Life and Mental Health Service. London: Routledge.

United Nations.(1995).Quality of Life in the ESCAP Region. Economic and Social Commission for Asia and the Pacific.

Andrews, F.M. and Crandall, R. (1975). “The validity of measures of self-reported well-being”. Social Indicators Research. No.3. 1975. pp. 1-19.

Harwood, P.. “Quality of life: inscriptive and testimonial conceptualizations”. Social Indicators Research. 3, (1976), pp.471- 496.

Haas, B.K., “WA multidisciplinary concept analysis of quality of life. Western”. Journal of Nursing Research. 21. (1999). pp.728–742.

UNESCO. (1978). Indicators of environmental quality and quality of life. Paris: UNESCO.

United Nation. (2009). Human Development Report 2009. New York: United Nations.

Royuela, V., LÓpez-Tamayo, J. and Suriñach, J. (2007). “The institutional V.S. the academic definition of the quality of work Life: what is the focus of the European Commission?”. Springer. (2007). 401-415.

Beadle-Brown, J., Murphy, G., and DiTerlizzi, M. “Quality of life for the Camberwell Cohort”, Journal of Applied Research in Intellectual Disabilities, Vol.22, No.4, (2009), pp.380-390.

Schalock, L. R. . “The concept of quality of life: what we know and do not know”. Journal of Intellectual Disability Research. Vol.48, No.3, (2004), pp. 205-206.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25