วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ต้องใฝ่ธรรม

ผู้แต่ง

  • พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ thongjunra มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภักดี โพธิ์สิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

วิถีชีวิตใหม่, ใฝ่ธรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อนำเสนอสถานการณ์ของ New Normal ในช่วงการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” และ 2) เพื่อนำเสนอแนวคิดการปรับตัววิถีใหม่ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร และนำเสนอในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ชีวิตวิถีใหม่ หรือ ความปกติใหม่ เป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต และกำลังจะกลายเป็นวิวัฒนาการใหม่ของสังคมมนุษย์ และระบบสังคมใหม่ของโลกอีกด้วย2) ในมุมมองของพระพุทธศาสนานั้น การปรับตัววิถีใหม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ ขั้นเตรียมรับ : ปริยัติสัทธรรม โดยการนำหลักพุทธธรรม 3 อย่างมาเป็นเครื่องนำทางชีวิต คือ (1) สติ-ธรรมมีอุปการะมาก และการมีสัมปชัญญะ คือ ตระหนักรู้ในปัญหา (2) โลกธรรม 8 คือ การเห็นความจริงและยอมรับอย่างมีสติ ขั้นเตรียมการ: ปริยัติสัทธรรม ด้วยการนำหลักพุทธธรรม 3 อย่างมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประกอบด้วย (1) โยนิโสมนสิการ-ใช้เหตุผลให้มากกว่ากว่าอารมณ์ ความรู้สึก (2) ปรโตโฆสะ-คัดกรอกข้อมูลข่าวสาร และ (3) กัลยาณมิตร-ทุกคนต้องเป็นเพื่อนแท้ต่อกันในยามวิกฤต ขั้นลงมือปฏิบัติ: ปฏิปัตติสัทธรรม คือ การลงมือปฏิบัติในวิถีชีวิตจริงประกอบด้วย (1) บุญกิริยาวัตถุ: การสร้างบุญร่วมกัน (2) สัปปุริสธรรม: หลักธรรมของคนดี ดังนั้นแล้ว การใช้ชีวิตอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงคุณและโทษที่จะเกิดขึ้น โดยปราศจากอคติ 4 และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างความเป็นกัลยาณมิตร และมุ่งการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์และเกื้อกูลแก่สังคมโดยภาพรวม

References

เอกสารอ้างอิง

บดินทร์ ชาตะเวที. (2564). พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่ : New Normal. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258. [3 ธันวาคม 2564].

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่, New Normal.(2564). “ชีวิต วิถีใหม่”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://district.cdd.go.th/maeai/. [3 ธันวาคม 2564].

สุภาภรณ์ พรหมบุตร.(2564). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49, [3 ธันวาคม 2564].

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน).(2565). แรงงานความรู้สู้โควิด, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal. , [2 มกราคม2565].

ธีรโชติ เกิดแก้ว.(2563). “การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด -19 ตามแนวพุทธศาสน์”, วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 43.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.

พระสิริมังคลาจารย์. (2524). มงฺคลตฺถทีปนิยา ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2563). “การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด -19 ตามแนวพุทธศาสน์”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 12.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25