THE STRATEGIES FOR THE DEVELOPMENT OF THE CHONG CHOM BORDER TRADE MARKET IN KAPCHOENG DISTRICT, SURIN PROVINCE

ผู้แต่ง

  • chalong suktong Surin Rajabhat University
  • Prida Patamawilai มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • Boontan Phaha มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน, การค้าชายแดนช่องจอม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจ ปัญหาอุปสรรคจุดแข็งและโอกาสของผู้ประกอบการค้าในตลาดการค้าชายแดนช่องจอม และนำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารตลาดการค้าชายแดนช่องจอมที่เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชนชาวไทย เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการวิจัยที่ได้ไปกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนช่องจอมให้มีศักยภาพ เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนไทยและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของท้องถิ่น ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาคือ ผู้ประกอบการในตลาดทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลูกค้า และผู้ประกอบการค้านอกตลาดการค้าชายแดนช่องจอม สัมภาษณ์ 42 คน สนทนากลุ่ม 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) มาวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์  ผลการวิจัยพบว่า

  1. แรงจูงใจสำคัญของผู้ประกอบการชาวกัมพูชาที่มาค้าขายในตลาดการค้าชายแดนช่องจอม คือ 1) สภาพความเป็นอยู่ในประเทศกัมพูชามีค่าแรงและมาตรฐานการครองชีพต่ำกว่าไทย 2) การทำธุรกิจขายสินค้าในกัมพูชามีการแข่งขันกันสูงจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ตามแนวชายแดน การวิเคราะห์สวอตของตลาดการค้าชายแดนช่องจอมพบว่า มีจุดแข็งที่สำคัญ ได้แก่ ความหลากหลายของสินค้า ค่าเช่าคูหาราคาถูก มีที่จอดรถเพียงพอ และตลาดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จุดอ่อนที่สำคัญ ได้แก่ ไม่มีความเป็นเอกภาพในบริหารจัดการจากภาครัฐ ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริหารจัดการตลาดมีน้อย ไม่สามารถนำร้านค้าค้ำประกันเงินกู้ในสถาบันการเงินได้ สภาพของร้านค้าในตลาดไม่มีความคงทนถาวร ขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค ตลาดยังอ่อนด้อยในการประชาสัมพันธ์ ไม่มีการจัดกลุ่มของสินค้าที่ขาย โอกาสของตลาดการค้าชายแดนช่องจอมคือ ผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยมีน้อยจึงยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจ ตลาดตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเมืองเสียมเรียบ ตลาดอยู่ใกล้กับโรงแรมสถานบันเทิงและคาสิโนในฝั่งประเทศกัมพูชา อุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ การมีตลาดเอกชนคู่แข่งที่อยู่ใกล้ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม เส้นทางการคมนาคมขนส่งในประเทศกัมพูชาจากพนมเปญมาตลาดการค้าชายแดนช่องจอมยังไม่สะดวก เหตุการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชา นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์สวอตมากำหนดเป็นแนวนโยบายเพื่อพัฒนาตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ได้ดังนี้
  2. ข้อเสนอยุทธศาสตร์การบริหารตลาดการค้าชายแดนช่องจอม 1) การพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดน โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดตั้งภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกำหนดนโยบาย กฎระเบียบและพัฒนาการค้าชายแดน ควรมีการตั้งหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบดูแลตลาดการค้าชายแดนช่องจอมโดยตรง กระตุ้นการค้าการลงทุนชายแดน 2) การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยส่งเสริมพันธมิตรด้านตลาดและการท่องเที่ยว ตั้งกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้ประกอบการค้าภายในตลาดการค้าชายแดนเพื่อเป็นแหล่งทุน เพิ่มสถาบันทางการเงินเพื่อให้เกิดความสะดวก 3) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ โดยปรับปรุงคูหาให้เป็นแบบอาคารที่มีความคงทนถาวร มีสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอและปลอดภัย จัดกลุ่มสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ส่งเสริมภูมิทัศน์ ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม 4) ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ โดยอบรมให้ความรู้การทำตลาด การบริหารจัดการ การจัดทำบัญชี การจัดหาแหล่งเงินทุน

References

References

Department of Foreign Trade (2015). “ Information Center for Trade, Investment with Neigboring Countires, Ministry of Commerce” [online], Source: http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=160. Retrieved on [12 May, 2016].

Department of Foreign Trade. (2021). Data on Investment with Neighboring Countries. Bangkok: Department of Foreign Trade.

Nathapong Jasuetrong. (2018). “Development of Thai-Cambodian Border Trade at Chong Sa-ngum Border Checkpoint”. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Duangduean Sikhodkaew. (2013). Potential of the Border Trade in Chiang Rai Province. MA Thesis in Business Administration: Sukhothai University.

Bandit Permboon, et al.(2020) “The Patterns of Promotion of Thai-Cambodian Border Trade at Chong Sa-ngum Border Pass of Sisaket Province” Journal of Humanities and Social Sciences of Surin Rajabhat University. 21(2) : 27-28.

Tipmanee Tongkerd. (2011). Sustainable Management of the Entrepreneurs along the Thai-Cambodian Border (Chong Chom) Surin. MA Thesis, Surin Rajabhat University.

Pitakkla Karaket. (2016). Development of the Border Market at the Temporary Border Checkpoint of Saitakoo in Ban Kruad District, Buriram Province. Thesis, Buriram Rajabhat University.

Maneerat Kararak (2014). “Development of the Border Trade : A Case Study of Thai-Cambodian Market of Chong Chom, Surin”. Journal of Nakornphanom University, 5(1) : 35-43.

Mathurada Lamaikun. (2014). Development of the Border Trade Business: A Case Study of Thai-Cambodian Friendship Market. Academic Journal of Songklanakarin University, 25(1), 22-30.

Yuwadee Samebat. (2017). Thai Government’s Policy and Measures in Managementof the Border Trade and Investments in Special Economic Zone of Nongkain Province. MA thesis, Political Science, Ramkamhang University.

Institute of Transport in Culalongkorn University, (2013). International Land Trade in the Eastern Side. Bangkok: Culalongkorn University.

Pakawat Janyasuthiwong. (2013).Development of Chong Sa-ngum towards Thai-Cambodian Relations in ASEAN Economy Community. Ph.D. Thesis in Politics, Ramkamhang University.

Supaluk Jiraratsatit. (2017). The Success Factors of the Border Trade Business in Northern Thailand: A Case Study of Chiang Rai Province. Ph.D. Thesis in Business Administration, Mafaluang University.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25