วิเคราะห์ความกตัญญูผ่านประเพณีผีปู่ตาของชาวอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระพัชรพล ปญฺญาธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระครูศรีปัญญาวิกรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ประเพณีผีปู่ตา, ปรัชญาจริยศาสตร์, ความกตัญญู, ชาวอีสาน

บทคัดย่อ

        วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์เรื่องความกตัญญู  2) เพื่อศึกษาประเพณีผีปู่ตาของชาวอีสาน 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์เรื่องความกตัญญูผ่านประเพณีผีปู่ตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พุทธจริยศาสตร์มีรากฐานแนวคิดและวิธีการมองโลกและสรรพสิ่งมาจากพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้พุทธจริยศาสตร์จึงมีลักษณะเป็น “จริยศาสตร์ศาสนา” ลักษณะของพุทธจริยศาสตร์ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ พุทธจริยศาสตร์แบบจารีตหมายถึงหลักจริยศาสตร์ที่มาจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา และพุทธจริยศาสตร์ร่วมสมัย หมายถึงชุดคำอธิบายหลักพุทธจริยศาสตร์ในประเด็นความขัดแย้งต่าง ๆ หรือเกณฑ์เพื่อพิจารณาและตัดสินใจในกรณีที่ต้องมีทางเลือก เพื่อยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ความกตัญญูเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองและแนะนำสาวกให้ปฏิบัติในหลักของความกตัญญู หลักความกตัญญูจึงเป็นหลักธรรมด้านพุทธจริยศาสตร์ที่สำคัญและสามารถนำมาปฏิบัติได้ประเพณีเซ่นผีปู่ตาเป็นความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อในเรื่อง “ผี” หรือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนในชุมชนก่อนที่จะรับพุทธศาสนา ชาวอีสานเชื่อว่าผีตาปู่สามารถพิทักษ์คุ้มครองได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ชีวิตชาวบ้าน สัตว์เลี้ยง ตลอดจนทรัพย์สินส่วนรวมของหมู่บ้าน อีกทั้งสามารถป้องกันผีป่าและผีที่มาจากที่อื่นไม่ให้รบกวนชาวบ้านได้อีกด้วย ผีตาปู่จะช่วยคนดีที่ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม หรือกฎเกณฑ์ของสังคม จะลงโทษผู้ละเมิดกฏเกณฑ์ไม่เคารพผีปู่ตาจากการวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ความกตัญญูผ่านประเพณีผีปู่ตา ก็คือหลัก จริยศาสตร์ระดับต้นในพุทธศาสนา  เพราะหลักพุทธจริยศาสตร์ระดับต้นมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้คนมีความประพฤติถูกต้อง เป็นคนดี มีระเบียบวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย จึงกำหนดให้มนุษย์ปรกติทั่วไปมี ศีล 5 ข้อ เป็นอย่างต่ำ

References

วรรณไวทยากรณ์. (2514). ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ส.ธรรมภักดี. (มปป.). ประเพณีโบราณอีสาน. กรุงเทพมหานคร: ส.ธรรมภักดี.

นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2542). ศาสนากับสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นายโสรัจ นามอ่อน และคณะ. (2555). “การศึกษาวิเคราะห์สาเหตุความเชื่อชาวพุทธที่มีต่อศาลดอนเจ้าปู่ประจําหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี”. รายงานการวิจัย. (สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ. “การศึกษาตัวบทและบทบาทของผีปู่ตา ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน): 157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29