พุทธจริยธรรมครอบครัวในทิศ 6 กับสังคมไทยยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระปัญกร ปญฺญาธโร (จันทร์ประแดง) นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

จริยธรรมครอบครัว,, ทิศ 6,, สังคมไทย,, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธจริยธรรมครอบครัวในทิศ 6 กับสังคมไทยยุคติจิทัล ผลการศึกษาพบว่า พุทธจริยธรรม กล่าวคือหลักธรรมที่ควรประพฤติในพระพุทธศาสนาเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันได้อย่างถูกต้อง ในทิศ 6 ได้อธิบายและความสำคัญกับบุคคลประเภทต่างๆ อยู่รอบตัวเรา เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 สังคมไทยยุคติจิทัล กล่าวคือสังคมที่มีความเจริญทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ หรือขาดการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง จึงเกิดปัญหาต่างๆ เช่น การหย่าร้าง การเด็กถูกทอดทิ้ง เป็นต้น แม้ว่าครอบครัวจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม ที่มีส่วนในการปลูกฝังค่านิยม ถ่ายทอดวัฒนธรรม และแนวคิดต่างๆ แต่จริงแล้วตามหลักพระพุทธศาสนาได้อธิบายคำสอนเรื่องทิศ 6 ที่พึงปฏิบัติต่อกัน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุรัตถิมทิศ ได้แก่ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด และให้ความอุปการะเราตั้งแต่แรกเกิด บุตรและธิดาจึงควรให้ท่านอยู่ในทิศเบื้องหน้า ปฏิบัติต่อท่านด้วยการเลี้ยงดูแล ช่วยการงาน ประพฤติตนเป็นทายาทที่เหมาะสม เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ และปัจฉิมทิศ ได้แก่ สามีและภรรยา ผู้มีบทบาทในการสนับสนุน เกื้อกูลและให้กำลังใจแก่กัน หากมีบุตรและธิดาเป็นกำลังเสริมให้กัน สามีควรยกย่องภรรยา ไม่กล่าวดูหมิ่น และนอกใจ  ส่วนภรรยามิควรนอกใจ ดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อย และช่วยรักษาทรัพย์สมบัติ ดังนั้นสังคมไทยยุคติจิทัลควรนำหลักพุทธจริยธรรมมาเป็นแนวทางการสร้างครอบครัวที่อบอุ่นต่อไป

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสัง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2562). “สังคมวิทยาดิจิทัล : แนวคิดและการนำไปใช้”, วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน): 65.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ (ประมวน พานิช), ชัยรัตน์ ทองสุข, ศิรธิรางค์ สังสหชาติ, สุวิน ทองปั้น และจรัส ลีกา. (2562). “พุทธจริยศาสตร์เพื่อความสุขในสังคม”, วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). คำวัด : พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเซียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระนริทร์ สีลเตโช, ผศ.ดร.จรัส ลีกา, พระสมบัติ ฐิตญาโณ, สัญญา ศราตรา. (2561). “หน้าที่ของมาดาบิดาในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท”, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) ฉบับพิเศษ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2546, 31 ตุลาคม). สนามบินสุวรรณภูมิ สะท้อนความเป็นมา 3 พันปี ของ “สยามประเทศไทย” ในสุวรรณภูมิ. มติชนวุดสัปดาห์, 24(1211), 72.

แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. [online], แหล่งที่มา: http://digitalasia.co.th/wpcontent/uploads/2016/12/66 85991_0 004.pdf. [15 กรกฎาคม 2565]

โสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2563). พุทธจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด: เอ็มมี่ ก๊อปปี้ เซนเตอร์ (Emmy Copy Center).

_______. (2556). จริยศาสตร์, ขอนแก่น: เอ็มมี่ ก๊อปปี้ เซนเตอร์ (Emmy Copy Center).

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2554). รายงานสถานการณ์ครอบครัว. [online], แหล่งที่มา: http://www.womenfamily.go.th [15 มิถุนายน 2565]

สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง และคณะ. (2552). วิกฤตสังคมไทย : แนวทางป้องกันภัยเยาวชนจากการใช้อินเตอร์เน็ตในที่พักอาศัย. วารสารร่มพฤกษ์, ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม).

อารยา สิงห์สวัสดิ์. (2552). เด็กติดเกมภัยร้ายโลกไซเบอร์. [online], แหล่งที่มา: http://www.thaihealth.or.th [15 มิถุนายน 2565]

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2551). พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29