ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุริยา กล้วยดี มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
  • เทพพร โลมารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
  • สุชาติ หอมจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ,, อิทธิพล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) จำนวน 400 คน มีตัวแปรเชิงสาเหตุ จำนวน 7 แบบ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของครู เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มโนภาพแห่งตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ส่วนตัวแปรตามคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.80. ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บุรีรัมย์ ภายหลังปรับแก้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า c2 = 26.36, df = 13, p = .015, CFI = .95, GFI = .98, RMSEA = .051 และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 13.00 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.110 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มี
อิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของครู และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.018, 0.010, 0.006, 0.019 และ 0.059  อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ มโนภาพแห่งตน มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.150 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

References

กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1”. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิดา ยอดสาลี. (2559). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2”. วิทยานิพนธ์ คม. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชนกนาถ สมีน้อย. (2557). “ศึกษาสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์”. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศุภชัย มาตาชาติ. (2556). “ได้วิเคราะห์จำแนกสไตล์การเรียนรู้ในโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดอำนาจเจริญ”. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพรรณ แก่นสาร. (2555). “ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิลปชัย ซื่อตรง. (2555). “ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3”. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).

สุมาลี ขันติยะ. (2552). “ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1”. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุริยา มมประโคน. (2555). “วิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์”. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23