การวิเคราะห์การปฏิบัติต่อกามารมณ์ตามหลักการทางจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ธนายุทธ โยธะคล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปฏิบัติ, กามารมณ์, หลักการทางจริยศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติต่อกามารมณ์ของคนไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษากามารมณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและหลักการทางจริยศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติต่อกามารมณ์ตามหลักการทางจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ตำรา และเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและทางปรัชญา แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติต่อกามารมณ์ของคนไทยในปัจจุบัน มีรูปแบบหลากหลายทั้งความรักและความสัมพันธ์ทางเพศ มีความสัมพันธ์แบบเปิด การนัดมีเพศสัมพันธ์อย่างเปิดเผย การนิยมมีความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด จะเห็นได้ว่าคนไทยในปัจจุบันมีความสัมพันธ์แบบเปิดเผยนัดมีเพศสัมพันธ์กันแบบไม่ผูกมัด 2) กามารมณ์ในพระพุทธศาสนาถือว่า อารมณ์ที่รักใคร่พอใจ รถคันสวย เสื้อผ้าสวย เพลงเพราะ เป็นต้น อารมณ์เหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางเพศ ส่วนอารมณ์ที่คอยดึงดูดจิตใจให้รักใคร่ หลงใหล ยินดี พระพุทธศาสนาเรียกอารมณ์เช่นนี้เรียกว่า “กามคุณ” และพระพุทธศาสนาเรียกการได้เสพกามคุณว่า “กามสุข” ซึ่งพระพุทธศาสนามีมุมมองต่อความสุขที่เกิดจากกามเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นสิ่งต่ำทราม (เมถุน) เป็นของชั่ว เป็นของหยาบ (ทุฎฺฐุลฺลํ) เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำหรือผู้เลวทราม (วสลธมฺมํ) เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นท่าทีของพระภิกษุที่มีต่อเมถุนธรรม เพราะบรรพชิต ทั้งหลายมีมุมมองต่อเพศสัมพันธ์ว่าเป็นของต่ำและเลวทราม        3) การปฏิบัติต่อกามารมณ์ตามหลักการทางจริยศาสตร์นั้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า กามารมณ์เป็นธรรมชาติขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ และมนุษย์ล้วนเกิดมาจากธรรมชาติ ดังนั้น มนุษย์จึงปรารถนา ต้องการ รักใคร่ และพอใจต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งสร้างความสุขกายเพลิดเพลินใจให้แก่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ควรแสวงหาความสุขอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษภายในอย่างหนึ่งคือความเป็นผู้มีเหตุผลในการมีชีวิต การใช้ชีวิตและการดำเนินชีวิต โดยมนุษย์สามารถพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปว่า ความสุขยังไม่ใช่สิ่งมีค่ามากที่สุดสำหรับมนุษย์ สิ่งดีที่สุดไม่ใช่ความสุขทางกาย แต่ความสุขที่แท้คือความเพลิดเพลินและความร่มเย็นทางใจ

References

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). เพศในเขาวงกต : แนวคิดทฤษฎีเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2547). อนุปุพพิกถาทีปนี ภาค 4 โทษของกาม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 36. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์.

ไพฑูรย์ ภัทรใหญ่ยิ่ง. (2551). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโก (ประมวน พานิช) และคณะ. (2562). พุทธจริยศาสตร์เพื่อความสุขในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(2): 1-13.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23