การวิเคราะห์การประกันชีวิตที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การประกันชีวิต, ชีวิตที่พึงประสงค์, หลักพุทธปรัชญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการประกันชีวิตในบริบทสังคมไทยทั่วไป (2) เพื่อศึกษาชีวิตและการประกันชีวิตในมุมมองของพุทธปรัชญาเถรวาท และ (3) เพื่อวิเคราะห์การประกันชีวิตที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การประกันชีวิตเป็นสัญญาซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะจ่ายเงินหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เมื่อผู้เอาประกันภัยยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือถึงแก่มรณะในระยะเวลาของสัญญา บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตมีอยู่ด้วยกัน 3 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ เมื่อสัญญาประกันชีวิตเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญาย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซึ่งกันและกัน 2. ชีวิตและการประกันชีวิตในมุมมองพุทธปรัชญาจะเห็นว่า พุทธศาสนาได้เสนอหลักธรรมสำหรับผู้ขายหรือตัวแทนประกันชีวิตในชื่อ ปาปณิกธรรม คือ จักขุมา มีความรู้ความชำนาญในธุรกิจการประกันชีวิต วิธูโร มีความชำนาญการด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน และนิสสยสัมปันโน ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ตัวแทนประกันชีวิตต้องมีหลักเบญจศีลเบญจธรรม เจ้าของธุรกิจประกันชีวิตต้องมี ความซื่อสัตย์สุจริต 3. สำหรับประเด็นการประกันชีวิตที่พึงประสงค์นั้น ผู้วิจัยได้เสนอหลักธรรมที่สัมพันธ์กับธุรกิจประกันชีวิต ผู้ขายหรือตัวแทนขายประกันชีวิตจะต้องเป็นผู้มีหลักธรรมทางพุทธศาสนา 4 ประการ คือ 1. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมาต่อผู้เอาประกันชีวิต (สัจจะ) 2. มีการฝึกฝนตนเองเพื่อให้สามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ในขณะที่ให้บริการกับผู้เอาประกันชีวิต (ทมะ) 3. มีความอดทนอดกลั้นในการให้บริการและรักษาประโยชน์ต่อผู้เอาประกันชีวิตด้วยความเอาใจใส่ (ขันติ) และ 4. มีการเสียสละตนเองในการที่จะสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้เอาประกันชีวิตอย่างเต็มที่และด้วยความเต็มใจ (จาคะ)
References
กรณัฐสุมิน เตชะเบญจรัตน์. (2561). พุทธจริยธรรมในการประกอบการธุรกิจประกันชีวิต. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน. (2564). ปัญหาผู้บริโภคกับการทำธุรกิจประกัน. ออนไลน์,[แหล่งที่มา]: https://www.esanbiz.com/3290[27 ธันวาคม 2564]
จตุพร ร่วมใจ. (2544). ศึกษาศาสนภาพและการประยุกต์หลักพุทธธรรมของนักธุรกิจ: ศึกษากรณีนักธุรกิจไทยพุทธในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชานิณี ยศพันธ์. (2559). ความชื่อสัตย์ของตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตที่มีต่อบริษัทประกันชีวิต. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 3(1), 1-15.
ณัฎฐ์ภูอิสร์ ศรีเพชร. (2558). แนวทางการสร้างความไว้วางใจของลูกค้าในธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), 86.
ธีรยุทธ ปักษา. (2561). ข้อยกเว้นความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัยในสัญญาประกันชีวิต. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 31(1), 120-121.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศูนย์ข่าวผู้บริโภค. (2564). บริษัทประกันไม่รับผิดชอบผู้บริโภคดีพอ เครือข่ายผู้บริโภค ไม่หนุนกระทรวงการคลังทำประกันคนจน 99 บาท, สืบค้น 27 ธันวาคม 2564, จาก http://www.consumert
สมาคมประกันชีวิตไทย. (2558). รายงานสถิติธุรกิจประกันชีวิต ประจำปี 2553-2557. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประกันชีวิตไทย.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2551). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.
Esanbiz Community News. (2564). ปัญหาผู้บริโภคกับการทำธุรกิจประกัน, สืบค้น 27 ธันวาคม 2564, จาก https://www.esanbiz.com/3290