พุทธจริยาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
คำสำคัญ:
พุทธจริยา, การพัฒนา, ทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทรัพยากรมนุษย์ในองค์การที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3) ศึกษาพุทธจริยาในการพัฒนามนุษย์และพุทธบริษัท 4 ในพระพุทธศาสนา เป็นบทความวิชาการ บูรณาการพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ที่ศึกษาเชิงเอกสาร โดยใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎกและเอกสาร หนังสือ ตำราวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้นั้นต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า หาได้ยาก ลอกเลียนแบบไม่ได้ ได้รับการฝึกอบรมพัฒนามาเป็นอย่างดี 2) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ด้วยวิธีการหลายแนวทาง เป็นต้นว่า กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนหรือกลยุทธ์เฉพาะหน้า การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์การ 3) พุทธจริยาในการพัฒนามนุษย์และพุทธบริษัท 4 ในพระพุทธศาสนามีปรากฏในพระไตรปิฎกมากมายหลายที่ในรูปแบบที่หลากหลายสามารถนำมาแสดงเป็นแบบอย่างแนวทางได้เป็นอย่างดียิ่ง เช่น ทรงพัฒนาพุทธบริษัท 4 อันเป็นทรัพยากรมนุษย์ในพุทธศาสนาให้เป็นพุทธบริษัทมีคุณค่า ผลผลิตระดับดีคือกัลยาณปุถุชนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ผลผลิตระดับสูงคือพระอริยบุคคลทั้งหลาย ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ที่มีศักยภาพช่วยเผยแผ่พุทธศาสนาให้แพร่หลายเป็นปึกแผ่น อำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติ ซึ่งไม่มีอยู่ในศาสดาหรือสาวกศาสดาลัทธิอื่น และลอกเลียนแบบไม่ได้ มีกระบวนการและวิธีการพัฒนาที่เป็นระบบดี มีกลยุทธ์คือวิธีการปรับเปลี่ยนเฉพาะหน้าอย่างเป็นอิสระ เช่น การรับสมาชิกใหม่เข้าองค์กรด้วยวิธีการบรรพชาอุปสมบท ทรงสอนด้วยวิธีการชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา พัฒนาให้เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ให้เป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทรงวางระบบการรักษา สืบสาน และต่อยอดวัฒนธรรมองค์กรในการสร้างและพัฒนาองค์กรให้มีความสามัคคีเป็นปึกแผ่นและยั่งยืนอย่างมีขั้นตอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งในการเผยแผ่ให้กับองค์กรทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ด้วยการสร้าง “เครือข่ายการเรียนรู้” ทางสังคม
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_________. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). 8K’s+5k’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: Chira Academy Publishing.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญทัน ดอกไทสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.
_________. อ้างใน ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : มุ่งสู่อนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.
ปราชญา กล้าผจัญ และ พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
พยัต วุฒิรงค์. (2559). การบริหารบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทวะฤทธิ์ กวินฺโท. (2560). “ศึกษาภาวะความเป็นพระอริยบุคคลแบบอุภโตภาควิมุตติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมนตรี อนามโย. (2563). “ประโยชน์การบรรลุธรรมของพุทธสาวกฝ่ายคฤหัสถ์”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อนันต์ชัย คงจันทร์. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.