หลวงพ่อใหญ่ : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
หลวงพ่อใหญ่, พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, วัดจำปาหัวนาบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาความสำคัญของหลวงพ่อใหญ่ในฐานะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดจำปา
อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า วัดจำปา หรือวัดจำปาบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปโบราณที่มีความสำคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของชุมชนบ้านหัวนา โดยภายในโบสถ์ของวัดจำปาเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปโบราณเนื้อหินทรายทางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ฝีมือช่างพื้นบ้าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 23-24 แต่กลับมีการบันทึกข้อมูลว่ามีลักษณะพุทธศิลป์เป็นแบบทวารวดีและมีอายุราว 1,400 ปี ซึ่งไม่น่าจะมีความเก่าแก่มากเพียงนั้น ถือเป็นการบันทึกไว้อย่างคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีถือว่าหลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันวัดจำปาถือเป็นสถานที่สำคัญทางด้านพระพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ
References
กิติสันต์ ศรีรักษา และ นิยม วงศ์พงษ์ดำ. (2557). อัตลักษณ์ทางสุนทรียภาพของงานพุทธปฏิมาลุ่มน้ำชี. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 1(1), มกราคม-มิถุนายน, 1-27.
กรมการศาสนา. (2534). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กระทรวงมหาดไทย. (2529). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2519). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญษจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2548). ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ติ๊ก แสนบุญ. (2548). วิกฤติศิลปะพื้นบ้านอีสาน อดีต ปัจจุบัน อนาคต. อุบลราชธานี: คณศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ติ๊ก แสนบุญ. (2552). ลักษณะอีสาน. อุบลราชธานี: คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ถนอม บุญเพิ่ม. (25 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2557). ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน.
พงษ์พันธ์ พึ่งตน. (2565). ประวัติศาสตร์ไทย. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
พงษ์ศักดิ์ อัครวัฒนากุล. (2558). แหล่งศิลปกรรมบนเส้นทางแผนที่โบราณจากเมืองหนองบัวลำภูถึงเมืองเวียงจันทน์. อุดรธานี: ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พระชัชวาล ชนฺติวิชโช และคณะ. (2563). การขับเคลื่อนชุมชนนวัตวิถีเชิงพุทธ: กรณีศึกษาวัดจำปา
อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบล ปริทรรศน์. 5(1), มกราคม-เมษายน, 170-182.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2555). ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2557). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.
สงวน รอดบุญ. (2545). พุทธศิลปลาว. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). พลังลาว ชาวอีสาน มาจากไหน?. กรุงเทพฯ: มติชน.
สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2548). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: ศรีสะเกษการพิมพ์.
ขจร สุขศรี. (1 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
คำ บุญพบ. (25 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
ฉวีลักษณ์ ตะนา. (25 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
ถนอม บุญเพิ่ม. (25 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
พระครูบวรสังฆรัตน์. (1 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์. เจ้าอาวาสวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.
วิจิตร ธรรมาพร. (5 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์. ชาวบ้านบ้านหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์จังหวัดศรีสะเกษ.