การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พระมหาชินวัฒน์ โชติธมฺโม (หรบรรณ์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสีลสราธิคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การดื่มสุราเมรัย, การแก้ปัญหา, พุทธจริยศาสตร์, ชาวบ้านดงพิกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ที่เกื้อหนุนต่อการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย และ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านดงพิกุล 85% ทำเกษตรกรรม มีประเพณีวัฒนธรรมเหมือนชาวอีสานทั่วไป ชอบจัดงานรื่นเริง มีการดื่มสุราเมรัย จึงทำให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท และปัญหาทางสุขภาพตามมา

พุทธจริยศาสตร์ ที่เกื้อหนุนการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย ได้แก่ ความระลึกรู้เท่าทันโทษของการดื่มสุราเมรัย (สติสัมปชัญญะ) คิดอย่างมีเหตุผลถึงคุณและโทษของการดื่มสุราเมรัย เพื่อการดำรงตนและคนในครอบครัวอย่างมีความสุข (โยนิโสมนสิการ) และมีความจริงใจ หรือมีสัจจะจริงจังในการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย (สัจจะ)

จากการวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ทำให้ทราบว่า ชาวบ้านดงพิกุลผู้คิดจะดื่มสุราเมรัย จะมีสติสัมปชัญญะ โยนิโสมนสิการ และสัจจะ กล่าวคือ มีความระลึกรู้เท่าทันโทษของการดื่มสุราเมรัย รู้จักตระหนักคิด สามารถระงับ ไม่พลั้งเผลอที่จะดื่ม มีเหตุผลแยกแยะรู้ว่า สุราเมรัยเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษ 1) เสียทรัพย์ 2) ก่อการทะเลาะวิวาท 3) เป็นบ่อเกิดของโรค 4) เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง 5) เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย และ 6) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ดังนั้น การแก้ปัญหา การดื่มสุรามัยได้อย่างเด็ดขาดตลอดชีวิตนั้น ผู้จะลด ละ และเลิกการดื่มสุราเมรัย ต้องมีสติสัมปชัญญะ โยนิโสมนสิการ และสัจจะต่อตนเองเป็นสำคัญ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2553). พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. [พิมพ์ครั้งที่ 4]. กรุงเทพมหาคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กิตติพงษ์ พลทิพย์. (2562). การพัฒนารูปแบบลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิราลักษณ์ นนทารักษ์. (2565). เปิดผลสำรวจนักดื่มลดลง หนุนสังคมปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์. สืบค้น 6 มิถุนายน 2567. จาก https://www.thaihealth.or.th

ปรเมธ ศรีภิญโย. (2562). ไตรสิกขากับการพัฒนา. [การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. 22 กุมภาพันธ์ 2562,. น. 1081-1091.

พระครูนิวาตวิริยธรรม (เพียร ตปคุโณ). (2553). รูปแบบการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาแก้ปัญหาการดื่มสุรา. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. [พิมพ์ครั้งที่ 6]. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. [พิมพ์ครั้งที่ 5]. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระไพศาล วิสาโล. (2549). ทำความเข้าใจบริโภคนิยม : คู่ปรับของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 10 มกราคม 2566. จาก http://www.visalo.org/article/budKarnsermsang.html

พระมหากำพล คุณงฺกโร. (2557). ปัญหาการดื่มสุราในสังคมไทย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 8(1), 105-114.

พระมหาเตชนวิทย์ ญาณสุโภ (สีทอง). (2554). ศึกษาวิเคราะห์วิกฤตการณ์อาหารโลกและการบริโภคอาหารตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. [วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. (2551, 14 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 33ก. หน้า 43-46.

พระสนั่น ธมฺมวิชโย (วงค์สมบูรณ์). (2549). ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องการใช้เศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับลัทธิบริโภคนิยม: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พิมญลักษณ์ ปัญญา, หรรษา เศรษฐบุปผา, พันทิพย์ จอมศรี. (2556). ประสบการณ์ณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรา. พยาบาลสาร 40(4), 45-55.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (ม.ป.ป.). ศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศต้นเดือนกรกฎาคม 2552. รายงานผลการสำรวจ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. สืบค้น 25 มกราคม 2566. จาก www.abacpoll.au.edu

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจพฤติกรรมการสูปบุรี่แลพการดื่มสุรา พ.ศ. 2554. สืบค้น 25 มกราคม 2566. จาก https://www.hiso.or.th/health_survey/DOC/H144.php

แสวง นิลนามะ. (2550). จริยธรรมการบริโภคในพุทธศาสนาเถรวาท. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16