ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นวพรรษ พันธ์สุข มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กิจกรรมกลุ่ม, จิตสาธารณะ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อจิตสาธารณะ                  ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2              ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคมสร้างตนเอง 1) จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมกลุ่ม 21 แผน โดยใช้เวลาวันละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง 30 นาที และแบบประเมินจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย           ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

จินตนา พบบุญ. (2556). “ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จิตรฐิกานต์ สบายจิตร. (2558). “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วี พรินท์ (1991).

นงลักษณ์ เขียนงาม. (2552). “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและจิตสาธารณะ ในวิชากิจกรรมแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคมสร้างตนเอง1). (2565). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. ออนไลน์, [แหล่งที่มา]: http://ubon.obec.go.th/ . [22 กุมภาพันธ์ 2565].

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). รายงานการวิจัยสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย การพัฒนาโครงการเด็กนักวิจัยและประเมินเน้นเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพร พรมสา. (2550). “ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการแสดงความมีน้ำใจต่อเพื่อน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จังหวัดสมุทรปราการ”. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. (2551). “จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องปัญหาส่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริ”. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ

Bandura, A. (1986). Social foundation of though and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27