ผลการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ ของนักเรียนชาวต่างชาติ: กรณีศึกษาโรงเรียนพุทธศาสนา วัดไทยลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น, ทักษะการอ่านสะกดคำ, นักเรียนชาวต่างชาติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น 2. เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำนักเรียนชาวต่างชาติกับเกณฑ์ร้อยละ 65และ 3. ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชาวต่างชาติหลังจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มเป้าหมายนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทยลอสแองเจลิส ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนฤดูร้อน ปีพุทธศักราช 2566 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น (2) แบบประเมินทักษะการอ่านสะกดคำ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการวิจัย
- แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
- หลังจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นนักเรียนชาวต่างชาติมีทักษะการอ่านสะกดคำสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65
- หลังจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นนักเรียนชาวต่างชาติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (2564). โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย. สืบค้น 24 กันยายน 2566. จาก: https://ticathaigov.mfa.go.th/th/content-category/โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย
กวิสรา รัตนากร. (2566). ผู้อดีตอำนวยการศูนย์ส่งเสริมการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สัมภาษณ์], 29 เมษายน 2566.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล.(2561). กลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารศิลปศาสตร์, 18(2), 164 - 178.
ทับทิม หุ่นหิรัญ. (2563). การพัฒนาชุดการสอนเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีการแบบเรียนปนเล่นเรื่อง คำศัพท์ภาษาจีนสำหรับเด็กนักเรียนชั้นปฐมวัย โรงเรียนปิยวัฒนศาสตร์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 72-84.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บังอร ร้อยกรอง. (2553). การใช้เกมเสริมการฝึกทักษะฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลลำปาง. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัญญาพร ปาละวัน และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ, 15(2), 126 - 136.
พระวิเทศกิตติคุณ. (2566). พระครูใหญ่โรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทยลอสแองเจลิส. [สัมภาษณ์],
มิถุนายน 2566.
รมณี พนัสขาว. (2558). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการสอนแบบเรียนปนเล่น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนาภรณ์ ชัยทน และคณะ. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้วิธีสอนแบบเล่นปนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. [ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2561). หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19 (2). หน้า 1 - 13.
ฤดี เชยเดช. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย โดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร จังหวัดปทุมธานี. [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วณิชยา ราชโยธา. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้การสอนแบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิภาวี มณีเนตร. (2566). ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สัมภาษณ์], 29 เมษายน 2566.
วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2549). การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศที่เน้น การเรียนรู้ตามสภาพจริง. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สายใจ ตะพองมาตร. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์โดยใช้แนวคิดของ
ศิลปินที่มีชื่อเสียงเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา].
บัณพิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพัตรา ศรีธรรมมา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12 (1). 266 - 280.
สุมณฑา ศักดิ์ชัยสมบูรณ์. (2562). การวิเคราะห์แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39 (3). 121 - 137.
สุมณทิพย์ วัฒนา และคณะ. (2563). แนวการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: การสอนแบบแม่สอนลูก. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20 (2). 204 - 233.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อัญชลี พงษ์ภมร. (2566). ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทยลอสแองเจลิส. [สัมภาษณ์], 14 มิถุนายน 2566.
อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2556). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน : กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
แอนนา สเติร์น. (2566). ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทยลอสแองเจลิส. [สัมภาษณ์], 14 มิถุนายน 2566.
Bunsawat, P. (1991). When The Little Girl Learns to Write. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Hoijer, H. (1969). The origin of language. In A. A. Hill (Ed.), Linguistics today (pp. 50-58). New York, NY: Basic Books
Hymes. (1972). On Communicative Competence. In: J.B. Pride and J. Holmes (eds)
Larsen-Freeman. (1986). Techniques and Principles in Language Teaching. Oxford : Oxford University Press.