พระธรรมเทสนามรรคติคุณในคัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษาขแมร์: พระพุทธกิจเทศนาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์แทนคุณพุทธมารดา

ผู้แต่ง

  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระราชวิมลโมลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

พระพุทธกิจ, การเทศนา, พระอภิธรรม 7 คัมภีร์, มรรคติคุณ, พุทธมารดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพระธรรมเทศนามรรคติคุณในคัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษา   ขแมร์ ซึ่งกล่าวถึงพระพุทธกิจ เทศนาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์โปรดพุทธมารดา ความเป็นมาคัมภีร์ใบลานนี้ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง วัน เดือน ปี ในการแต่ง ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ที่วัดชัยมงคลมุนีวาส ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ลักษณะคำประพันธ์ เป็นแบบร้อยแก้วประเภทวรรณกรรมพระพุทธศาสนาผสมผสานกับวรรณกรรมคำสอน กลวิธีการแต่งแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน สำนวนภาษาแบบบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหารและเทศนาโวหาร เรื่องย่อได้เล่าถึงพระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นกิจที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตรหลังจากตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาอันเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก มี 5 ประการ คือ 1) เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต 2) เวลาเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน 3) เวลาย่ำค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุ 4) เวลาเที่ยงคืนทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา 5) เวลาย่ำรุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลกทั้งที่สามารถ และยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควร และเสด็จไปโปรดเทศนาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ที่พระพุทธเจ้าเทศนาโปรดพุทธมารดา ในพระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขันธ์ 1) คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม 2) คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อๆ 3) คัมภีร์ธาตุกถาแสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วยธาตุ 4) คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ประการ และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคล 5) คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ 219 หัวข้อ ที่ถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย 6) คัมภีร์ยมก คัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ และ 7) คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุเป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร พระอภิธรรมนั้นเป็นธรรมะขั้นสูงซึ่งหัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของจิต เจตสิก รูป และนิพพาน          

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543. พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร. (2563). พระอภิธรรม : รูปปรมัตถ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. สุรีย์ มีผลกิจ และคณะ. (2543). พระพุทธกิจ 45 พรรษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27