ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • แก้วสุภางค์ แสนทอง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรมม อาจารย์ประจําประจําบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ อาจารย์ประจําประจําคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา, สาระเศรษฐศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีหลังการจัดการเรียนรู้โดยใชปัญหาเป็นฐาน และ 3)ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคมสร้างตนเอง1) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา และแบบทดสอบความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่าทีไม่อิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่า

1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีหลังการจัดการเรียนรู้โดยใชปัญหาเป็นฐานพบว่า โดยรวมอยู่ ในระดับมาก

3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

กรชนก รัดถา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 59-74.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 6). ซัคเซสมีเดีย.

เกศกมล แสนยศบุญเรือง. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชา ส 13101ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 8-14.

จริยา กล้าหาญ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์, 7(2), 117-125.

ดนิตา ดวงวิไล. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(2), 417-426.

นภัสวรรณ จงสอน. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หน่วยเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดแบบหมวกหกใบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สิริพร บุญกุศล. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา สาระเศรษฐศาสตร์ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโพนเพ็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16