การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ไตรสิกขา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 2) ประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 3) เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก และแจกแบบสอบถามผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 269 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D. =0.54) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีการปฏิบัติงานมากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. =0.53) รองลงมา คือ ด้านร่างกาย อยู่ในระดับมาก ( = 3.66, S.D. =0.68) ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 3.60, S.D. =0.43) และด้านที่มีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านจิตใจ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. =0.52) ตามลำดับ
- ประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ด้านศีล ผู้สูงอายุรักษาควรศีลเป็นประจำ ด้านสมาธิ ผู้สูงอายุควรรู้จักควบคุมอารมณ์ ด้านปัญญา ผู้สูงอายุควรปล่อยวางความคิดที่ทำให้ไม่สบายใจ
- เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า เรื่องของ ศีล ผู้สูงอายุควรรู้จักใช้อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมาธิ ผู้สูงอายุต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งหล่อเลี้ยงจิตใจให้เจริญงอกงาม ปัญญา ผู้สูงอายุควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ มีวิธีคิดที่จะเข้าถึงความจริง และได้คุณประโยชน์
References
นัสมล บุตรวิเศษ, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม. (2565). ปัจจัยด้านสวัสดิการสังคมที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศิริพงศ์ จนฺทปาโมชฺโช. (2563). การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชรัฐประศาสนศาสตร์]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). การสูงวัยของประชากรไทย. วารสารประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2550-2553, 1(1), 11-13.
อารีย์ สุวรรณคำ. (2541). อัตมโนทัศน์และการปรับตัวของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณีผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. [ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุหัชชา พิมพ์เนาว์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อำพล ศรีมงคล. และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.