ขอมศึกษา: เพื่อสันติสุขในเอเซียอาคเนย์

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติกิตติวรรณ (วีระ กิตฺติวณฺโณ/ได้ทุกทาง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ขอมศึกษา, สุวรรณภูมิ, ทวารวดี, เอเซียอาคเนย์, สันติสุข

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.เพื่อตีความคำว่า “ขอม” ให้ได้ความหมายที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น 2.เพื่อลดการยึดถือในความเป็น “ขอม” ไว้เพียงเฉพาะกลุ่ม  3.เพื่อสมานสันติสุขในสังคมเอเซียอาคเนย์  พร้อมคำเสนอแนะ  เป็นการศึกษาจากเอกสาร ฟังบรรยายจากนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณคดี และการสังเกต  แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า

  1. คำว่า “ขอม” เมื่อตีความเชิงปฏิบัติการ จะมีความหมายที่กว้างขึ้น ทั้งด้านบริเวณอาณาเขตพื้นที่ (ภูมิศาสตร์) ด้านช่วงระยะเวลาแห่งยุคสมัย (ประวัติศาสตร์) และด้านคน ภาษา ศิลปวัฒนธรรม (มานุษยวิทยา)
  2. การศึกษาอารยธรรมขอมในสมัยปัจจุบัน มีข้อมูลใหม่ ๆ จำนวนมากและหลากหลายที่จะลดการยึดถือ แบ่งคน แบ่งพวก ของความเป็นขอมไว้เพียงเฉพาะตน จนสามารถช่วยลดความขัดแย้งกันได้ระดับหนึ่ง สนับสนุนการลดความขัดแย้งในสังคมระหว่างประเทศ
  3. การศึกษาเรื่อง “ขอมศึกษา” จะนำไปสู่ปฏิบัติการสมานสันติสุขในสังคมเอเซียอาคเนย์ ผ่านการเยี่ยมชมโบราณสถานในยุคสุวรรณภูมิ ทวารวดี นครวัด สุโขทัย ซึ่งระบุว่าเป็นศิลปะขอมโบราณ และพิสูจน์หลักฐานสำคัญของใช้อักษรขอมสำหรับเขียนและอ่าน เช่น ขอมบาลี ขอมไทย ขอมภาษาเมือง ขอมภาษาธรรม เป็นต้น การเรียนวิชาขอมศึกษาจะเป็นโอกาสดีสำหรับการพัฒนาคุณธรรม ให้เกิดความรักและสามัคคีกันระหว่างประเทศ สำหรับพื้นที่เอเซียอาคเนย์ เพราะภูมิภาคนี้เป็นดินแดนสุวรรณภูมิเดียวกัน  บรรพบุรุษยุคทวารวดีหนึ่งเดียว และต่างร่วมสมัย ร่วมวัฒนธรรมขอมเรืองอำนาจ

References

จิรารัตน์ จารุวัฒนาศิริ. (2564). อิทธิพลแห่งคำสอนพระพุทธศาสนามหายานที่มีต่อการสถาปนา เส้นทางราชมรรคาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรรศน์, 17(2), 101-110.

น้าอำ HISTORY. (29 สิงหาคม 2566) ภารกิจตามหามนุษย์ขอมคนแรกของสยาม (ท่านมนขอมพิษณุ จากจารึก "กเบื้องจาร"). สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://www.youtube. com/ watch?v=FX8Kroq1Zgc&t=11s

นิพัทธ์ แย้มเดช. (2558). จากต้นแบบธรรมิกราชาของพระเจ้าอโศกมหาราช สู่บทบาทพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชาผู้บรรเทาทุกข์ของทวยราษฎร์ : ภาพสะท้อนจากจารึกประจําาอาโรคยศาลา. วารสารดำรงวิชาการ, 14(1), 170-204.

นิพัทธ์ แย้มเดชและคณะ. (2561). ศิลาจารึกปิเมียนากัสแห่งศรีอินทราเทวี (ก.485): เนื้อหาและความสำคัญเป็นคำเชิดชูพระเจ้าชัยวรมันที่ 7. วารสารดำรงวิชาการ, 15(2), 89-142.

ประกาศ. (2566). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566. 20 มกราคม 2566.

ประกาศกรมศิลปากรเรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน. (2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 79 ตอนที่ 97 (ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2505).

พงษธร เครือฟ้า. (2563). องค์ประกอบและหลักการออกแบบเพื่อการสื่อสารเมืองหลวงวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 11(1), 131-151.

พระครูสมุห์หาญ ปญฺญธโร ดร. (2566). เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง หมู่ 14 ตำบลกระโพอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, ผศ.ดร. (2566). อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณฤทธิ์ ปราโมช ณ อยุธยา. บรรยายในรายการ จารึก”กเบื้องจาน” คืออะไร? เก่าแก่ยุคทวารวดีหรือ? : สภากาแฟเวทีชาวบ้าน 071265. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://www.youtube.com/watch?v=cCSicjapjRc

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2561). แนวคิดใหม่เกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณอู่ทอง. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2885-2899.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (ม.ป.ป.). พระปฐมเจดีย์ในความเลื่อมแห่งมโนภาพทางประวัติศาสตร์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 132-155.

อนุรักษ์ ดีพิมาย. (2563). เมืองนอกของเมืองศรีเทพ: ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดีปี พ.ศ. 2561. วารสารดำรงวิชาการ, 19(1), 11- 36.

ออฟฟิเชียล มติชน ทีวี. (2562). รายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว ตอน “พระแท่น แลนด์มาร์คแม่กลอง 2,000 ปี. สืบค้น 30 ตุลาคม 2566. จาก https://www.youtube. com/watch?v=nUyfVehO9bk&ab_channel=matichontv

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16