วิพากษ์ปัญหาของพุทธศาสนาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ:
พุทธศาสนา, การอนุรักษ์, สิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิพากษ์ปัญหาของพุทธศาสนาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในมุมมองของนักอนุรักษ์มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ประการแรก ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติมีคุณค่าในตัวเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการหรือเป็นไปเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ ประการที่สอง ความหลากหลายในธรรมชาติล้วนมีคุณค่าในตัวเองต้องส่งเสริมรักษา ประการที่สาม สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ มีลักษณะที่เป็นองค์รวม ทำให้พบปัญหา 3 ประการ 1. พุทธศาสนามีท่าทีที่ให้คุณค่ามนุษย์เหนือกว่าสิ่งอื่นในธรรมชาติ 2. ถึงจะยอมรับในคุณค่าในตัวเองของสัตว์ แต่ก็ให้คุณค่าทางศีลธรรมแก่สัตว์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน และ 3. พืชและทรัพยากรที่ไม่มีชีวิตในธรรมชาติไม่มีจิต จึงไม่มีคุณค่าในตัวเองและอยู่นอกเหนือขอบเขตทางศีลธรรมของพุทธศาสนา ถึงจะมีข้อปฏิบัติทางศีลธรรมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แต่ก็อยู่บนฐานของการป้องกันความเดือดร้อนของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุกับภิกษุณีเท่านั้น ไม่รวมถึงอุบาสกหรืออุบาสิกา
References
เฉลิมวุฒิ วิจิตร. (2553). สถานะทางจริยธรรมของสัตว์ในทัศนของพุทธศาสนาเถรวาท.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2543). ปัญหาของการนำพุทธศาสนามาเป็นพื้นฐานในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(2), 30-35.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2559. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.
(พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). 2562. ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(SDGs). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พระมหารุ่ง ปญฺญาวุฑฺโฒ. 2547. การศึกษาเชิงวิเคราะห์สถานภาพ คุณสมบัติ และ
บทบาทของพระโสดาบันในพระพุทธศาสนาเถรวาท, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
พระสุธีธรรมานุวัตร, มนตรี สิระโรจนานันท์, วุฒินันท์ กันทะเตียน, ศศิวรรณ กำลังสิน
เสริม และ จุฑามาศ วารีแสงทิพย์. ม.ป.ป.. ความจริงจากการวิจัย "กรรม".
พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2537). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราช
วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). 2559. พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที 31).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. สรุปสาระสำคัญ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564.
กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.