ชุมชนชาวพุทธต้นแบบด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติกิตติวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูสุตธรรมาภิรัต (สุธมฺมาภิรโต/ยืนยง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต (ศรีทน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระอธิการอำพน จารุโภ (ดาราศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ชุมชนสีเขียว, ชุมชนชาวพุทธต้นแบบ, ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาที่ยั่งยืน, บ้านกันตวจระมวล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาแนวคิดวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  2) ศึกษาชุมชนบ้านกันตวจระมวลด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 3) วิเคราะห์วิถีชีวิตชุมชนชาวพุทธต้นแบบบ้านกันตวจระมวล ด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม นําเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์   

ผลการศึกษาพบว่า
1) แนวคิดวิถีชุมชนสอดคล้องกับระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การที่ทุกคนในครอบครัว ชุมชน มีการศึกษาทำความเข้าใจ  เกิดจิตสำนึกตระหนักรับผิดชอบประกอบตนอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม  มีการตั้งกฎระเบียบ มติประชาคม  ข้อตกลง อย่างมีส่วนร่วม  เพื่อช่วยการดูแลรักษา ป้องกัน แก้ไข ลดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ในจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม  จึงจัดว่าเป็นวิถีชีวิตชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) ชุมชนบ้านกันตวจระมวลมีพัฒนาการด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเพราะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  แต่มีการยกระดับวิสัยทัศน์การพัฒนาเชิงพื้นที่ด้านการความสะอาด  และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน  เมื่อมีการจัดตั้งเทศบาลตำบลกันตวจระมวล เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2552  ซึ่งมีนโยบายที่ชัดเจน ในการกำหนดโครงการ และกิจกรรมต่อเนื่อง  ส่งผลให้บ้านกันตวจระมวลมีความพร้อมทั้งด้านกายภาพ  และด้านคนที่มีศักยภาพสูง   ชุมชนกันตวจระมวลมีวัฒนธรรมที่ผ่านการเพาะบ่มทัศนคติเชิงบวกเป็นสำคัญ คือทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม กระทั่งได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะด้านการจัดการชุมชนปลอดขยะ
3) ชาวบ้านกันตวจระมวลมีวิถีชีวิตแบบธรรมาภิบาล มีการกระจายบทบาทความรับผิดชอบ แบ่งผู้นำเป็น 16 คุ้ม  เขียนป้ายคณะกรรมการคุ้ม ป้ายศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญา  ป้ายที่พักโฮมสเตย์  แสดงพฤติกรรมที่ประกอบด้วยคุณธรรมหลักธรรม  เช่น ร่วมกันตั้งปณิธานทำงานจัดการขยะให้เกิดผลสัมฤทธิ์  มีความเพียรในการประชุมปรึกษาหารือกันในหมู่บ้านต่อเนื่องทุกวันภายใน 1 เดือนแรก  จนเกิดประชาคมมีมติเข้าไปช่วยจัดการทำความสะอาดครัวเรือนเป้าหมาย และช่วยจัดระเบียบบ้านเรือน  

References

กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2549). ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย.

ชนิดาภา บุญเลิศ, พระเมธาวินัยรส, สุมานพ ศิวารัตน์ และยงสยาม สนามพล. (2561). “การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการแนวพุทธ”. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 9(1): 97-110.

ชัยนันท์ ไชยเสน. (2564). “การจัดการขยะอาหารในครัวของโรงแรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการวัตถุดิบ และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 19(2): 371-387.

ธนรัฐ สะอาดเอี่ยมและพัชรี สายวงษ์. (2561). “รูปแบบการดูแลสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20(2): 283-295.

นภาวรรณ รัตนสุข. (2559). “การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน”. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(5): 260-273.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2539. (2539, 25 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง. หน้า 1-365.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นเทศบาลตำบลกันตวจระมวล พ.ศ.2554. (2554, 11 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 17 ง. หน้า 48.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท และ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.2535. (2535, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับพิเศษ เล่ม 109 ตอนที่ 131 หน้า 55-62.

พระชลญาณมุนี(สมโภช ธมฺมโภชฺโช). (2558). “พระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามพระธรรมวินัย”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(1): 1- 17.

พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (กุยรัมย์). (2562). “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงพุทธของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9: วิเคราะห์เชิงพุทธรรม”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8): 4076-4094.

พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127. (ร.ศ.127, 13 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 หน้า 668-669.

พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476. (2477, 24 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 51 หน้า 82-107.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537. (2537, 2 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก. หน้า 11-35.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไรและคณะ. (2563). “แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 15(2): 43-58.

วิสาขา ภู่จินดาและณัฏฐธิดา พัฒนเจริญ. (2564). “การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านสะนำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี”. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University. 13(2): 301- 309.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

หมอชาวบ้าน. (1 เมษายน 2533). พุทธศาสนากับวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.doctor.or.th/article

อุดม เม่งศิริ, ผศ.ดร.ชยสร สมบุญมาก, ผศ.ดร.จักรพงษ์ เปี่ยมเมตตา และรศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา. (2564). “การบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของบริษัทสมบูรณ์ศิลาทองจำกัด จังหวัดชุมพร”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 5(1): 11-20.

บุคลานุกรม:

นางสุวรรณี โชติศิรินันท์. (2566). นายกเทศมนตรีตำบลกันตวจระมวล. [สนทนากลุ่ม], 19 ตุลาคม

นายชาญ นพเก้า. (2566). ประธานวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปบ้านกันตวจระมวล. [สนทนา

กลุ่ม], 19 ตุลาคม 2566.

นายบุญนาค สืบสันต์. (2566). กำนันตำบลกันตวจระมวล ประธานโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero

waste). [สนทนากลุ่ม], 19 ตุลาคม 2566.

นายเอกวิทย์ สิทธิโชติวงศ์. (2566). ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ [สนทนากลุ่ม], 19 ตุลาคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30