การบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, หลักอิทธิบาท 4, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ วิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 กับประชากรกลุ่มตัวอย่างจํานวน 126 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดหมู่บ้าน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เท่ากับ 0.05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีจํานวน 126 คน ส่วนมากผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 56.3 และเพศชาย จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 43.7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.48, S.D = 0.524) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์
จํากัด.
ธงชัย สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2542).ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร:
บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นนทศักดิ์ เอกสันต์. (2555). “การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อส่งเสริมคุณภาพ
ชีวิตขอประชาชน กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัด
สุรินทร์”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและ
ภาคเอกชน. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบา ชมที. (2566). “การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากร
เทศบาลเมืองตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์”. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.แผนพัฒนา
ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด. (พ.ศ. 2561-2565). ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบล
บัวเชดอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์.
พระกิตติคุณ วรธมฺโม (สว่างเพียร). (2558). “ประสิทธิผลการบริหารจัดการตามแผนการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลเมืองพิจิตรของจังหวัดพิจิตร”.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธีระพงศ์ ธีรปญฺโญฺ (จันทนา). (2556). “ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วน
ตำบลใน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537. สํานักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกา: [26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537].
ภรทิพย์ ขำภักดิ์. (2561). “การประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาและบริหารจัดการ
พื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์มนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
มานิต จุมปา. (2548). คำอธิบายกฎหมายการปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมธาพร บุตรกุล. (2555). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร”.
การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยารามคำแหง. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน
จำกัดพิมพ์อักษร.
วาสนา ทรัพย์ทวี. (2552). “การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.