การจัดการเกษตร การปรับตัว ของพุทธยุวเกษตรกรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วิรัตน์ ภูทองเงิน วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร พลเยี่ยม วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กิตติธัช นาชัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการเกษตร, การปรับตัว, พุทธยุวเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการจัดการเกษตร การปรับตัว ของพุทธยุวเกษตรกรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่จังหวัดบุรีรัมย์ 2.เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเกษตร การปรับตัว ของพุทธยุวเกษตรกรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการเกษตร การปรับตัว ของพุทธยุวเกษตรกรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า กลุ่มพุทธยุวเกษตรดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านหลักการ ประกอบด้วย (1) พอประมาณ (2) มีเหตุผล (3) มีภูมิคุ้มกันและด้านเงื่อนไขประกอบด้วย(1) ความรู้ (2) คุณธรรม (3) ระดับความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ (4) ระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) ความคิดเห็นในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ จากการศึกษา จะเห็นได้ว่ามีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของพุทธยุวเกษตรวิถีพุทธคือ พฤติกรรมของสมาชิกในแต่ละด้านโดยมี หลักการประกอบด้วย 1) ความรู้ 2) คุณธรรม 3) ระดับความรู้ความเข้าใจ 4) ระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักพอเพียง แต่กลับเพิ่มมูลค่าขึ้นได้ ลดอัตราความเสี่ยงความประพฤติการใช้จ่ายลงได้ จึงสร้างความมั่นคง และความยังยืนในครอบครัวและสมาชิกในกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้กลุ่มพุทธยุวเกษตร
  2. แนวทางการจัดการเกษตร การปรับตัว ของพุทธยุวเกษตรกรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ จังหวัดบุรีรัมย์การจัดการกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น มีการบริหารจัดการการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่นสามารถ ทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุ และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม

References

กรมเกษตรและสหกรณ์. (2562). การประชุมคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลของกองพัฒนาเกษตรกรร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2567. จากhttps://www.moac.go.th/news-preview-411891791421

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). การสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการใช้และการเสริมความเข้มแข็งแก่การสื่อสาร เพื่อพัฒนาชุมชน. รายงานการวิจัย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ขวัญกมล ดอนขวา. (2556). พฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มวัยทางานและผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัยนครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2555). การบริหารการพัฒนาชนบท.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : พิมพลักษณ์.

นันทนีย์ กลมศิริพิชัยพร. (2549). การพัฒนาสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สถาบันราชภัฏราไพพรรณี

พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ.(2560). วิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่: องค์ความรู้ และการจัดการเชิงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์,ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2562) 33 - 43

เสรี พงศ์พิศ.(2548). การพึ่งตนเองภายใต้สถานณ์วิกฤติ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

เอกชัย พุมดวง. (2557). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ในชุมชนตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30