กลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์กับการพัฒนาท้องถิ่น
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2547 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ดำเนินงานตามพันธกิจหลักที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาสังคมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้เป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ กลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์กับการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ 2) ด้านการสนับสนุนชุมชนด้วยนวัตกรรม 3) ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 5) ด้านการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
References
กฤษกนก ดวงชาทม. (2556). บทบาทเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ.ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.
กําจร ตติยกวี. (มปป). งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(1) : 1-4
กาญจนา รอดแก้ว ภุชงค์ เสนานุช และรณรงค์ จันใด. (2564). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 19 (1) : 48-66
กิตติยา ระวะนาวิก. (2565). นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 28 (1) : 130-145
ชวนี ทองโรจน์. (2554). การวิจัยวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น.วารสารสหสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (JMSS). 7 (1) : 129-138
ชัยยุทธ เล่าเรียนธรรม ภมร ขันธะหัตถ์ และธนิศร ยืนยง. (2567). การบริหารต้นทุนมนุษย์กับหลักการบริหารจัดการที่ดีที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 25(1) : 243-250
ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วิทยามิพนธ์นี้ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์นี้เป็นช่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครูศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปรีชา อุยตระกูล. (2552). โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านการพัฒนาระบบข้อมูล ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
พิกุล ภูมิโคกรักษ์. (2550). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏภายใต้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 (Unpublished Doctoral dissertation). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พีรดาว สุจริตพันธ์ เพ็ญศรีฉิรินัง,วรเดช จันทรศรและ วิพร เกตุแก้ว. (2566). เศรษฐกิจสีเขียวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. 9(1) : 627-642
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2567). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https//smu.ac.th/about/history. สืบค้น 6 ธันวาคม 2567.
ราชกิจจานุเบกษา.(2567). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mhesi.go.th/images/2563/pusit/legal-all/6p2547.pdf สืบค้น 6 ธันวาคม 2567.
สัญญา เคณาภูมิ วันชัย สุขตาม และวัชราภรณ์ จันทนุกูล. (2567). บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏกับความเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ. 2(1) : 49-70
สำนักงานที่ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). คู่มือการประเมินการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร.