การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดราชสิงขร

Main Article Content

ธนพร พีขุนทด
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
วีระ วงศ์สรร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) หาประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับ ไม่เกิน 20 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดราชสิงขรจำนวน 24 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มีค่า E1/E2 เท่ากับ 84.93/85.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า มีผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.69 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.37, S.D.=0.70)

Article Details

How to Cite
พีขุนทด ธ., หุ่นสุวรรณ ก., & วงศ์สรร ว. (2024). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดราชสิงขร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(2), 157–164. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/273652
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรรณิการ์ อุไรล้ำ. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะที่มีต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวักหงส์รัตยาราม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จำเนียร แซ่เล่า. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนิสา คำแก้ว. (2556). ผลของการใช้ชุดฝึกทักษะที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุวรรณ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

นราทิพย์ ใจเพียร และ จารุวรรณ สิงห์ม่วง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 49-57.

นิระชา สาระไทย. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการบวกการลบจำนวนนับไม่เกิน 20 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสุวรรณวราราม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ปฎิญญาภรณ์ พันธ์เดช. (2558). การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนวัดอัมพวาโดยใช้แบบฝึกทักษะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). การทดสอบทางการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2563. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). การทดสอบทางการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2564. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). การทดสอบทางการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2565. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2537). แนวการจัดประสบการ์ณประถมศึกษา. สำนักงานฯ

สำนักงานเลขาธิการสภาศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). สำนักงานเลขาธิการสภาศึกษา.