การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการด้านการออกกำลังกายและกีฬาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ

Main Article Content

พลากร มะโนรัตน์
นภพร ทัศนัยนา
สุกัญญา เจริญวัฒนะ
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการด้านการออกกำลังกายและกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้แบบแผนการวิจัยประเภทการประเมินความต้องการจำเป็น โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 434 คน ได้แก่ บุคลากรฝ่ายบริหาร บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุนและนักศึกษา โดยทำการแบ่งหน่วยการสุ่มแบบเป็นชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ย การจัดเรียงลำดับความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการตามหน้าที่ (POIC) ด้านการออกกำลังกายและกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิด

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านสภาพความเป็นจริงกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับปานกลางชี้ให้เห็นว่า จากการดำเนินงานด้านการออกกำลังกายและกีฬายังไม่เป็นที่พึงพอใจของประชากรส่วนใหญ่เท่าที่ควร ด้านสภาพที่คาดหวังมีความต้องการในระดับมากที่สุดในทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าประชากรส่วนใหญ่มีความต้องการบริการด้านการจัดการออกกำลังกายและกีฬาเป็นอย่างยิ่ง


2. เมื่อพิจารณาตามค่าดัชนีความต้องการจำเป็นพบว่า สิ่งที่ต้องเน้นเป็นอันดับแรก คือ การนำไปปฏิบัติ รองลงมา คือ การควบคุม การจัดองค์กรและการวางแผน เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยพบว่า  2.1) ด้านวางแผน ควรเน้นการตั้งหน่วยงานให้รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านกีฬาและการออกกำลังกาย การทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องการจัดทำแผนงบประมาณสนับสนุน 2.2) การจัดองค์กร ควรเน้นการจัดตั้งชมรมของนักศึกษาและสโมสรบุคลากรให้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการกีฬาและออกกำลังกาย 2.3) การนำไปปฏิบัติ ควรเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกายที่มีความหลากหลายและต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ 2.4) การควบคุมควรจัดทำคู่มือในการดำเนินงานให้กับหน่วยงานและผู้รับผิดชอบ กำหนดมาตรฐานในการให้บริการ ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุง

Article Details

How to Cite
มะโนรัตน์ พ., ทัศนัยนา น., เจริญวัฒนะ ส., & ทองคำบรรจง เ. (2020). การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการด้านการออกกำลังกายและกีฬาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวคิดของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(3), 55–66. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/251498
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560, 28 มีนาคม). ขอเชิญส่งนิสิตนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพและนันทนาการในสถาบันอุดมศึกษา เรื่อง วิถีแห่งแรงบันดาลใจสู่ชุมชนเพื่อสุขภาพ (A part of inspiration toward a more community for health). ประกาศที่ ศธ 0508/ว 449 ด่วนที่สุด.
ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ, (2557). กลยุทธ์การจัดการกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 140-154.
ธงชัย สันติวงษ์, (2545). การจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรภัทร วิจิตรานุช, (2558). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์กีฬากองทัพบกสวนสนประดิพัทธ์. วารสารสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย, 5(2), 24-30.
เนตร์พัณณา ยาวิราช, (2560). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
พัชสิรี ชมภูคำ, (2552). องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิลวารุณี เอี่ยมสวัสดิกุล, (2561). การสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 11(9), 1-11.
วิโรจน์ โรจนพิทยากร, (2560). กรอบการเป็นมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ บทบรรณาธิการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(4), 662-663.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, (2547). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สยามสเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อำพร ศรียาภัย, (2557). การจัดการกีฬาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาชาติ. วารสารสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย, 4(1), 35-49.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.