ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ทเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

เยาวลักษณ์ ชมนาวัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ท (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์  (3)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ทกับกลุ่มที่เรียนโดยการสอนแบบปกติ และ  (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2563  จำนวน  30  คน  แบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ท  15  คน และกลุ่มที่เรียนโดยการสอนแบบปกติ   15  คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) บทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ท 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  t-Test


            ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ  84/80  กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ กับกลุ่มที่เรียนโดยการสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.40 , S.D. = 0.61 )  

Article Details

How to Cite
ชมนาวัง เ. (2021). ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์คลาสสตาร์ทเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(1), 95–104. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/251566
บท
บทความวิจัย

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบนเครือข่าย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,32(1), 6-13.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563, 9 มิถุนายน). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์:วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหา มกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. http://slc.mbu.ac.th/article/28181
จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2560, 26 พฤษภาคม). ความสามารถของระบบห้องเรียนออนไลน์ระดับประเทศ ClassStart.org. gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/628858
ดวงกมล แก้วแดง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยใช้ระบบ ClassStart รายวิชาการ จัดการการปฏิบัติการ สำหรับนักศึกษา Block Course ศูนย์การศึกษานนทบุรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(104), 34-41.
นิอร น้ำใจดี. (2563). การศึกษาผลการเรียนรู้ผ่าน ClassStart เรื่อง สินค้าคงเหลือ สำหรับนักศึกษาระดับ ปวส.1 การบัญชี (ระบบทวิภาคี). วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 4(1), 43-52.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า1-23.
สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 11(2), 250-260.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563, 16 มิถุนายน). คู่มือและแนวปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนปีการศึกษา 2563. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.ops.go.th/main/index.php/news-service/announcement/2199-2563
กนกวรรณ เรืองแสน และ ลาวัณย์ ดุลยชาติ. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้แบบ MIAP ด้วยโปรแกรม ClassStart เรื่อง การออกแบบ Template Power point ด้วยโปรแกรม Photoshop CS5. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(1), 18-28.
พัชรนินท์ ธนทรัพย์บุรโชติ และ ศศิธร สำราญจิต. (2559). การวิเคราะห์การเก็บข้อมูลด้านการวิจัย กรณีศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 56-69. https://doi.org/ 10.14456/jmu.2016.19
วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย, ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, และ วริศรา ม่วงช่วง. (2560). การใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 124-135. http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.53
ศศิธร มุกประดับ, วิภา แซ่เซี้ย, รัดใจ เวชประสิทธิ์, และ เนตรนภา คู่พันธวี. (2561). ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางและคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(1), 1-9.
Stack, S. (2015). Learning Outcomes in an online vs traditional. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 9(1), 1-18. https://doi.org/10.20429/ijsotl.2015.090105
Summers, J. J., Waigandt, A., & Whittaker, T. A. ( 2005). A Comparison of Student Achievement and Satisfaction in an Online Versus a Traditional Face-to-Face Statistics Class. Innovative Higher Education, 29(3), 233-250. https://doi.org/10.1007/s10755-005-1938-x