พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)ระดับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็ก 2)ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก 3)ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก 4)อำนาจพยากรณ์พฤติกรรมของผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อขวัญและกําลังในการปฏิบัติงานทำงานของครูผู้ดูแลเด็ก 5)แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 289 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้เเก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรทั้ง 5 ร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 55.40 พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ควรพัฒนา มี 2 ด้าน คือ 1)ด้านการมีส่วนร่วม 2)ด้านการมุ่งความสัมพันธ์รายบุคคล
Article Details
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2555).พฤติกรรมผู้นำกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์การ.วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 1(2), 106-110.
ชัยรัตน์ ชาญวิรัตน์. (2556). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการกรอาชีวศึกษา {วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์}. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ฐิภารัตน์ สมสมัย. (2557). ขวัญกำลังใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา อำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 {วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์} มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พชร วรญาวิสุทธิ์. (2556). สวัสดิการที่มีผลต่อความพึงพอใจและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง {วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์} มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ต่วนโรสณา โต๊ะนิแต. (2550). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดยะลา {วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์} มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมจิตร ไข่มุก. (2554). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี {วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์}.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2553) องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
ศิริภัทร ดุษฎีวิวัฒน์. (2555). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ {วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต}. RMUTT research repository. https://www.research.rmutt.ac.th/?p=10171
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม. (2562). สรุปผลการปฏิบัติงานกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ประจําปีงบประมาณ 2562. https://www.baanklang.go.th/main.php?url=news_view&id=1081&cat=A
อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู {วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต}. Rbru e-Theses.https://www.etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=258&group=20
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value.https://psycnet.apa.org/record/1967-35036-000