การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

Main Article Content

พรหมพิริยะ ปินะกาโพธิ์
ณัฏฐชัย จันทชุม
ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร ์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล
เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) หาค่าดัชนี
ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ จำนวน
นักเรียน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.95 / 78.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
กำหนดไว้ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.6727 นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
ซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนและหลังเรียนไป
แล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ปินะกาโพธิ์ พ., จันทชุม ณ., & บุญทองเถิง ภ. (2020). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 83–95. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/251934
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ.
ดอกแก้ว สิงห์เผ่น. (2550). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องตน้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model) (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ดารารัตน์ จารพิมพ์. (2558). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปากับการเรียนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา CIPPA MODEL.วารสารครุศาสตรN, 27(3), 1–17.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาสน์.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2558). การวัดและการทดสอบแบบอิงกลุ่ม. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design (พิมพ์ครั้งที่ 2).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณวิภา สินมา. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากับแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อัญชนา สายสร้อย. (2550) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเงิน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Crites, J. O. (1981). Career counseling model methods. New York: Mc Graw-Hill.
Super, D. E. (1960). The psychology of career. New York: Harper and Row publishers.