ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปฐพล ด่านนอก
ชนะชัย อวนวัง
ทัชชวัฒน์ หล่าสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรม
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ความเข้าใจ
และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น จำนวน 257 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบและแบบสอบถาม
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูส่วน
ใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโดยรวม
อยู่ในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครู
พบว่า เพศ สถานภาพและประสบการณ์ทำงานของครูแตกต่างกัน และมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตโดยรวมไม่
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ความเข้าใจกับระดับ
พฤติกรรมการดำเนินชีวิต พบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ด่านนอก ป., อวนวัง ช., & หล่าสุวรรณ ท. (2020). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 117–126. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/251966
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพจน์ ยืนยง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ คุณภาพชีวิตของข้าราชการครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2559, 19 ธันวาคม). น้อมนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” สู่แผนพัฒนาชาติแบบยั่งยืน. ไทยรัฐ.สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/814647
นิภาพร นันตา. (2555). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านไร่กองขิงและบ้านต้นเกว๋น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงทพมหานคร: สุรีวิยาสาส์น.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: มหาสารคามการพิมพ์.
วีรวิชญ์ ตันวรรษรักษ์. (2556). การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการออมของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อการปะสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2556). 4,350 การทรงงานเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2559). ร่วมเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: รังษีการพิมพ์.
เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2560). ความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,11(25), 88-98.
อรวรรณ ชมชัยยา และขวัญใจ จริยาทัศน์กร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ปกครองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณลักษณะดี เก่ง มีความสุข ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.