การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและนิสัยนักคิดสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Main Article Content

อาภาพร สิงหราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 2. ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่
ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและนิสัยนักคิดสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยใช้การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชาปรัชญา
การศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2561 จำนวน 2 หมู่เรียน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ 3) แบบประเมินนิสัยนักคิด และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ซึ่งใช้สำหรับสร้าง
แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ (1) ทบทวนความรู้เดิมและระบุประเด็นในการคิด (2) แสวงหาความรู้ใหม่และวิเคราะห์
ข้อมูล (3) ทำความเข้าใจข้อมูล ความรู้ใหม่ และประเมินความถูกต้องของข้อมูล (4) แลกเปลี่ยนความรู้และจัดระบบ
ความรู้ และ (5) แสดงผลงานและประยุกต์ใช้ความรู้ 2) ผลการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า
นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีนิสัยนักคิดสูงกว่ากลุ่มควบคุมและมี
ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีนิสัยนักคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และ 3) นักศึกษากลุ่มทดลอง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สิงหราช อ. (2020). การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและนิสัยนักคิดสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 349–360. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252110
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2555) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ไสว ฟักขาว. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
อุษา ปราบหงส์. (2550). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
Costa, A., and Kallick, B. (2009). Habits of mind across the curriculum: Practical and creativestrategies for teacher. USA: Alexandria.
Ennis, R. H., and Millman, J. (1985). Cornell critical thinking test, level Z. Pacific Grove, CA:Midwest Publications.
Facione, P. A. (2011). Critical thinking: What it is and why it counts. Measured Reasons and theCalifornia Academic Press, Milibrae CA. 2013. 1-28.
Suad, A., Haya, A., Asma, A., Haila, A., and Nidhal, A. (2018). A systematic review: Using habits of mind to improve student’s thinking in class. Higher Education Studies, 8(1), 25-32.