รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เถลิงศักดิ์ ศุภฤกษ์
เผ่าไทย วงศ์เหลา
เสนอ ภิรมจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 2. สร้างและ
พัฒนารูปแบบ และ 3. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูที่
สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
จำนวน 175 คน ครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญ
7 ท่าน และนักเรียน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึก
แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (แบบอิสระ) การวิเคราะห์ความแปรปรวน
สองทาง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึก
มีความรับผิดชอบมากกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .01 2) นักเรียนที่ได้รับ
การสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบมีทักษะการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์มากกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .01 และ 3) ความรับผิดชอบ
และวิธีการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบ ส่งผลทางบวกต่อทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .01

Article Details

How to Cite
ศุภฤกษ์ เ., วงศ์เหลา เ., & ภิรมจิตร เ. (2020). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 393–404. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252194
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กันยา พลายมี. (2553). การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบ ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.
ปริญญา พวงจันทร์. (2556). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับโรงเรียนคูพั่ฒนาไทย-อินโดนีเซีย (วิทยานิพนธป์ ริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ปิยนาถ เหมวิเศษ. (2551). การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เลือกใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
พิสมัย อาแพงพันธ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศสตร์ตามแนวคิดอิงการเรียนรู้อิงบริบท (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ไพศาล เครือแสง. (2558). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 205-220.
รัฐศาสตร์ พนคุณวุฒิ. (2553). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงเรื่อง การวัดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแกน้อยศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศราวุฒิ ขันคำหมื่น. (2553). การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สภาพสมดุลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,กรุงเทพหมานคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สิทธิพร อาจอินทร์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข, 16(1), 72-82.
สิริรัตน์ บุตรสิงห์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือด้วยวิธีจิกซอร์ 2 กับการสอนตามปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครสวรรค์, นครสวรรค์.
สุนิสา แก้วกระจ่าง. (2553). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เส้นขนานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
Bonwell, C. C., and Sutherland, T. E. (1996). Using active learning in college class : A range of option for faculty. San Fransico: Jossey-Bass.
Brandes, D., and Ginis, P. (1996). Aguide to student-centered learning. Oxford: Blackwell.
John, M. (2011). QBQ!: The Question Behind The Question. New York: USA, G. P. Putnam’s Sons.
Krulik, S., and Reys, R. E. (1980). Problem solving in school mathematics. Reston, Virginia: NCTM.National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1989). Curriculum and evaluation standard for school mathematics. Reston, Virginia: NCTM.
Sandford, F. H., and Wrightsman, L. S. Jr. (1970). Psychology. Belmont: Books/Cole.
Walberg, H. J. (1984). Improving the productivity of America’s schools. Educational leadership (Alexandria, VA), 41(8), 19–27.