การพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

Main Article Content

รสศิรินทร์ หลักหาญ
เนตรชนก จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) เรื่อง ดิน น้ำและภัยธรรมชาติ และ 2) ศึกษาความสามารถในการโต้แย้งและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นรายด้าน หลังเรียนโดยใช้ SSI กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSI จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง, แบบวัดความสามารถในการโต้แย้ง จำนวน 3 ฉบับ ๆ ละ 5 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.60-0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดชนิดปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.47-0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Dependent Sample t-test


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ SSI มีความสามารถในการโต้แย้งและการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) เมื่อศึกษาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความสามารถในการโต้แย้ง ด้านข้อกล่าวอ้างสูงที่สุด และด้านหลักฐานต่ำที่สุด และพบว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านนิรนัยสูงที่สุด และด้านอุปนัยต่ำที่สุด

Article Details

How to Cite
หลักหาญ . ร., & จันทร์สว่าง เ. (2021). การพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 117–126. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252515
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กฤษฎา ทองประไพ,ศศิเทพ ปิติพรเทพิน, กฤษณา ชินสิญจน์, และ อารยา แจ่มใส. (2559).การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตรเป็นฐาน.วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม, 7(1), 59–60.
คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2562, 12 มิถุนายน). รายงานผลสำฤทธิ์ประจำปีการศึกษา 2562. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2551). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2(3), 99-105.
ยุภาวดี นุ่นปิ่นปักษ์,ชาติไทย แก้วทอง,และ จีระพรรณ สุขศรีงา. (2561), การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบสมองเป็นฐานกับการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),8(1), 73-74.
วิไลวรรณ ทรงศิลป์ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2560),การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(3), 175-184.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.http//www.niets.or.th.
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา(2559). รายงานการวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน.เทคนิคพริ้นติ้ง.ศิขรินทร์ ธาร์โคตรสิงห์,ประวิต เอราวรรณ์, และ มนูญ ศิวารมย์.(2556).การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา,11(2), 42.
อัศวิน ธะนะปัด และคณะ.(2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์.วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.),3(2), 1-9.
Dawson, V. M. & Venville, G. (2010). Teaching Strategies for Developing Students’ Argumentation Skills about Socioscientific Issues in High School Genetics. Research in Science Education, 40, 133 - 148.
Newton, P., Driver, R., and Osborne, J. (1999). Establishing the Norms of Scientific Argumentation in Classrooms.John Wiley& Sons.
Norris, S. P. & Ennis, R. H. (1989). Evaluating Critical Thinking (Practitioner Guide to Teaching Thinking Series).Midwest Publications.
Osborne, J. F. & Patterson, A. (2011). Scientific argument and explanation: A necessary distinction.Science Education.95, 636.
Pedretti, E. (1999). Decision making and STS education: exploring scientific knowledge and social responsibility in schools and science center through an issues-based approach.School Science and Mathematics, 99(4), 174-181.
Sadler, T. D. and Zeidler, D. L. (2003). Weighing in on Genetic Engineering and Morality :Students Reveal their Ideas Expectations, and Reservations. https://eric.ed.gov/?id=ED475162
Zeidler, D. L. & Sadler, T. D. (2011). Enacting a Socioscientific Issues Classroom: Transformative Transformations. Learning and Research, 88, 277-305.
Zoller,U.O. (1993). Expanding the Meaning of STS and the Movement Across the Globe. In R.E. Yager (Ed.). The Science , Technology , Society Movement. The National Science Teacher Association.