ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด -19 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

ทัศนีย์ อุทัยแสน
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 ของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาสมการพยากรณ์   ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19  ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 447 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ค่าที   (t - test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          2) ระดับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด -19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด -19 จำแนกตามสถานภาพและจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) มี 5 ตัวแปร สมการพยากรณ์ปัจจัย


การบริหาร พยากรณ์ได้ร้อยละ 65 สามารถเขียนสมการ ดังนี้


            Y' =     32 + .33X2+ .28X6+ .74X5+ .11X3+ .07X1


           Z' =    .38Z2+ .26Z6+ .19Z5+ .11Z3+.07Z1

Article Details

How to Cite
อุทัยแสน ท. ., ศรีพุทธรินทร์ ส. . ., & เขียวน้ำชุม จ. . (2022). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด -19 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 175–189. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/256462
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563,18 พฤษภาคม). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1

กรกฏาคม 2563. https://moe360.blog/2020/05/08การเตรียมความพร้อม.

กฤตฤณ ปูนอน และจีรนันท วัชรกุล. (2564). การศึกษาองคประกอบสมรรถนะความเปนบุคคลแหงการเรียนรู้

ในยุคดิจิทัล สําหรับผูบริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแกน

เขต 5.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 18(3), 139-149.

กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564,31 กรกฎาคม). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).

https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf.

กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ. (2564,18 พฤษภาคม). การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด

เชื้อไวรัสโคโรนา. 2019 (COVID-19). http://www.sea12.go.th › ict › 3-info-covid-190564.

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถม

ศึกษากรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].

https://e-research.siam.edu/kb/factors-effecting-the-quality-of-school-under-the-office-of-bangkok-

primary-education-service-area/.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์

บุ๊คพอยท์.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 ระดับมัธยมศึกษา

[การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต].

http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/323.

ทรรศนกร สงครินทร์. (2553). ปัจจัยทางด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน [การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต].

http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article1926_85599.pdf.

ไทยรัฐ ออนไลน์. (2564, 25 พฤษภาคม). กระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมจัด 5 รูปแบบการเรียนการสอน

ยุคโควิด-19 ป่วนเมือง. https://www.thairath.co.th/news/local/2100016.

ตรีนุช เทียนทอง. (2564, 25 พฤษภาคม). ครม. เห็นชอบปรับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาให้ “ครู” เป็นวิชาชีพชั้นสูง.

https://www.thairath.co.th/news/politic/2100787.

นิภาภัทร์ พรหมดนตรี. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามทัศนะของผู้บริหารและครู

อำเภอวังวิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต].

http://mis.sct.ac.th/eResearch/eResearch.cfm?id=16.

พสิษฐ อ่อนอ้าย. (2562). ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต].

http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_53.pdf.

รักษิต สุทธิพงษ. (2560). กระบวนทัศนใหมทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร

มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2),344 – 355.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่ง

ตะวันออก. [ดุษฏีนิพนธ์]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2009.353.

วารุณี ลัภนโชคดี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบของ สมศ. สำนักพิมพ์สำนักงาน

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

วิธิดา พรหมวงศ์. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่

ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม

เขต 1. วารสารรัชภาคย์ สถาบันรัชภาคย์, 15(40), 200 – 213.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555) แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหาร ทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์

หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2564, 23 เมษายน).ศูนย์เฉพาะกิจการเรียนการสอน

ทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา.

https://sites.google.com/esdc.go.th/covid19-nkp2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 27 สิงหาคม). สพฐ.ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน

และการจ่ายเงินเยียวยานักเรียน. https://www.obec.go.th/archives/482880.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัยและการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้

โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสงขลา. สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.