ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

โชติรส ฮับสมบูรณ์
วันเพ็ญ ประทุมทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS ก่อนเรียนและหลังเรียน และเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS ก่อนเรียนและหลังเรียนและเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองไม้แก่นวิทยา จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS  2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบทีแบบ 1 กลุ่มตัวอย่าง


            ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ฮับสมบูรณ์ โ. ., & ประทุมทอง ว. . (2022). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 253–265. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/256510
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จรรยา ดาสา. (2553). เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเคมีคำนวณ. นิตยสาร สสวท., 38(167), 72-78.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุลีพร บุตรโคตร. (2556, 7 สิงหาคม). คุณภาพการศึกษาไทยต่ำจนน่าเป็นห่วง. ศูนย์ข่าว TCIJ. https://www.tcijthai.com/news/2013/07/scoop/2919

ประสิทธิ์ ศรีกุลวงษ์. (2554). ผลของแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์คำนวณที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์คำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/12345 6789/881

พัชนี แสงประสิทธิ์. (2558). ผลการใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5E ที่เสริมกิจกรรม 4S เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนไม่เน้นวิทยาศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu .ac.th/swuthesis/Sci_Ed/Patchanee_S.pdf

พัชรกร ยิ่งยงยุทธ. (2560). การศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับหลัก สุ จิ ปุ ลิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_SLM/Patcharakorn _Y.pdf

พันธ์ ทองชุม. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภการณ์ ปลาสุวรรณ์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่องเคมีอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3373-3386.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. http://biology.ipst.ac.th/?p=688

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. https://www.scimath.org /ebookchemistry/item/8417-2-2560-2551

สมฤดี เลี่ยมทอง. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis /Somruedee.Lie .pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2555). การสอนเคมี : การเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางและการวัดผลแบบ formative. นิตยสาร สสวท., 40(179), 44-46.

อดิศักดิ์ สิงห์สีโว. (2549). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่องปริมาณสัมพันธ์ที่เน้นการพัฒนาความสามารถใน

การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Baroody, A. J. (1993). Problem Solving, Reasoning, and Communicating, K-8 Helping Children Think Mathematically. Macmillan Publishing Company.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. McGraw-Hill.

Davis, K. (1977). Human Behavior at Work. McGraw-Hill.

Gokhan, D., & Gulsen, C. (2014). The effect of laboratory activities based on 5e model of constructivist approach on 9th grade students' understanding of constructivist approach on 9th grade students' understanding of solution chemistry. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 3120-3124. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814007368

Ong, E. T., & Keok, B. L. (2020). The Effect of 5E Inquiry Learning Model on the Science Achievement in the Learning of "MAGNET" Among Year 3 Students. Jurnal Pendidikan IPA Indonesia, 9(1), 1-10. https://www.researchgate.net/publication/340868592_The_Effect_of_5E_Inquiry_Learning_Model_on_the_Science_Achievement_in_the_Learning_of_Magnet_among_Year_3_Students

Pizzini, E. L., & Shepardson. (1989). A Rationale for ant the Development of a Problem Solving Model of Intruction in Science Education. Science Education, 73(5), 523-534. https://onlinelibrary.wiley .com/doi/10.1002/sce.3730730502

Senol, S., & Ozge, O. (2016). The Effects of 5E Inquiry Learning Activities on Achievement and Attitude toward Chemistry. Journal of Education and Learning, 6(1), 1-9. https://scholar.google.co.th /scholar?q=The+Effects+of+5E+Inquiry+Learning+Activities+on+Achievement+and+Attitude+toward+Chemistry&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholar

Sternberg, R. J. (1986). Critical Thinking: Its Nature, Measurement, and Improvement, https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED272882.pdf