การเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลธษพลศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิบัติการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลธษพลศึกษา จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกอนุทิน 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มี 4 ขั้นตอนที่สนับสนุนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่โดยแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้มีกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนได้ในระดับดี 2) การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ผลตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนดร้อยละ 70 และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
ชัยยศ จระเทศ. (2558). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนวาปีปทุม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธัญญวัจน์ บุตรราช. (2563). การเสริมสร้างความสมารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
ตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับสื่อสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองปาดฟาน
[วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิธินันท์ กลั่นคูวัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งผล
ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์สมการเชิง
เส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประทวน คล้ายศรี .(2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับ
แนวคิดอภิปัญญาสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ปิยธิดา โพธิ์ประภา. (2558). การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาทักษะ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 [วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2549). Blended Learning: การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่ 1). วารสารวิชาการครุศาสตร์
อุตสาหกรรม, 1(2), 48-57.
วันเพ็ญ รังคพุทธมานะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดของโพลยาร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
Bersin, J. (2004). The blended learning book: Best practices, proven methodologies, and lessons learned. San
Francisco: Pfeiffer.
Polya, G. (1957). How to solve it (3rd ed.). Double Day.
Garnham, C., & Kaleta, R. (24, Oct 2002). Introduction to Hybrid Courses. Retrieved.
http:// www.uwsa.edu/ttt/articles/ garnham.htm.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press
Lesher, Ronald E.(1971). A Study of logical thinking in Grades for though seven. Dissertation Abstracts
International. 32 :2487-A.
Rovai, A. P. & Jordan, H. (2004). Blended Learning and Sense of Community: A Comparative Analysis with
Traditional and Fully Online Graduate Courses. The International Review of Research in Open and
Distributed Learning 2004, 5(2), 1-13.