การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สื่อสังคมสนับสนุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผดุงนารี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สื่อสังคมสนับสนุน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สื่อสังคมสนับสนุน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สื่อสังคมสนับสนุน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้แบบเสาะหาความรู้เป็นการจัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตามความสามารถและความถนัดของตนเองอย่างเป็นอิสระ โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้ดีมากขึ้น 2) ผลการศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา พบว่า ผู้เรียนมีระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.47, S.D. = 0.82) และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สื่อสังคมสนับสนุนอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D = 0.53)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
ขณิกานต์ ใจดี. (2557). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของ นักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ น้อย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิติกร ประครองญาติ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับเว็บ สนับสนุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). นวัตกรรมและสื่อในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสาร
สาขามนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 560-581.
นรนนท์ รัตนนนท์ไชย. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านสื่อสังคม สำหับนักเรียนช้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประภัสสร เพชรสุ่ม, อภิณห์พร สถิตภาคีกุล และกตัญญุตา บางโท. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 15(1), 80–87. วรรณนิภา ปานหนู. (2559). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนว
คอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์. (2559). Education 4.0. http://www.applicadthai.com/articles/education-4-0.
วิลาสินี ยืนยง (2561). การพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,
(29), 65-74.
ศศิธร โมลา. (2560). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชา คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับกระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริเดช สุชีวะ และคณะ. (2559). ทักษะทางปัญญาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การพัฒนาโมเดลและเครื่องมือวัด
ออนไลน์. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) www.niets.or.th.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es). https://www.kroobannok.com/news_file/p20114860835.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เส้นทางสู่อุดมศึกษา 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กับการอุดมศึกษา
ไทย. อนุสารอุดมศึกษา, 43(465), 16–19.
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์และพรรณีสินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูป การศึกษา. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อารีรัตน์ บัวบาน. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ร่วมกับการใช้
สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง การจัดการผลผลิตทางการเกษตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. {วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์}. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd). Deakin University.