การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง การใช้โดรนเพื่อการเกษตรเบื้องต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เรื่องการใช้โดรนเพื่อการเกษตรเบื้องต้นที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนอบรมและคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการอบรม 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ 4) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการฝึกอบรมออนไลน์ จากผู้ฝึกอบรมอาชีพนักบินโดรนเพื่อการเกษตรโครงการโดรนเช่าซื้อของ บริษัท EASY 2018 จำกัด ประจำปี 2565 จำนวน 25 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ 2) แบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบของสื่อที่ใช้จัดฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( =4.61, S.D.= 0.28) 2) คะแนนสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อยู่ในระดับมาก (= 4.09, S.D.= 0.69) 4) สภาพปัญหาและอุปสรรค ด้านเนื้อหาบางหัวข้อยาวเกินไป ส่งผลให้ผู้เรียนลดความสนใจ เป็นหลักสูตรใหม่จึงยังไม่คุ้นชินกับการอบรม และระบบความเร็วอินเทอร์เน็ตต่ำส่งผลต่อสัญญาณภาพกระตุก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2556). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ใช้
เทคโนโลยี ธนาคารพาณิชย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, (6), 385-398.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย วจะสุวรรณ และ เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้โดรนเพื่อการเกษตรในอุตสาหกรรมเกษตร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 143-157.
ธนพงษ์ ไชยลาโภ และคณะ. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์ เรื่องการออกแบบเพื่อการผลิตสื่อปฏิสัมพันธ์
และมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 134-143.
นิตยา มั่นศักดิ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการสร้างและตกแต่งคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
พงศ์ศักดิ์ บัวจะมะ. (2555). การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมัคร อยู่ลอง. (2556). การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การเป็นผู้ดำเนินรายการและวิทยากรรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม [สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายใจ คุณบัวลา. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์แอนนิเมชั่นเบื้องต้น และความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการ
สร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารจันทร์เกษมสาร, 21(40), 99-108.
อดิศร พึ่งศรี. (2561). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ออนไลน์ วิชาถ่ายภาพ เรื่อง Advance Flash Photography.
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Dinmore, S. (2019). Beyond lecture capture: Creating digital video content for online learning - a case study. Journal of University Teaching and Learning Practice, 16(1), 98–108.
Hariadi, B., Sunarto, M. J. D., & Sudarmaningtyas, P. (2016). Development of Web-Based Learning Application for Generation Z. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 5(1), 60-68.
Nordin, A. B. (2013). Web-Based Teaching and Learning Approach (WBTLA) Usability in Institutions of Higher Learning in Malaysia. The Malaysian online Journal of Education and Technology, 1(2), 44-55.
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, 49-60.