การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ สื่อดิจิทัล เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชุติมณฑน์ โสชัยยันต์
มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล
นิภาพร ชุติมันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัล เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัลกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) และ Hoteling’s T2 ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.89/80.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.6786 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 67.86 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัลมีระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
โสชัยยันต์ ช. ., ภัทรชาลีกุล ม., & ชุติมันต์ น. . (2022). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ สื่อดิจิทัล เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(3), 201–214. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/261148
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ วงขัน. (2561). การออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ การกำหนดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)” รุ่นที่ 6. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด

ณัฐพร เอี่ยมทอง. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิด

วิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบ

การสอนปกติ . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัตน์ พูลเขตนคร, ธนวัตน์ เจริญษา, นิตยา นาคอินทร์, และ ภาสกร เรืองรอง. (2562).

เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร,

(6), 478-481.

นันทวัช นุนารถ. (2560). เรียนรูอยางไรในยุคดิจิตอล : มุมมองที่ตองตระเตรียมสำหรับเด็กไทย1 ARTICLE : LEARN HOW IN THE DIGITAL : A VIEW TO PROVIDING FOR CHILDREN IN THAILAND. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(2), 318-326.

พัชรินทร์ สุวรรณอำไพ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง บทประยุกต์

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สกลนคร.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิ สดศรี-สฤษวงศ์.

วิระสิทธิ์ มาตรอำพร. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) เรื่องการประยุกต์ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Endah Amalia. (2017). The Effectiveness Of Using Problem Based Learning (PBL) In Mathematics

Problem Solving Ability For Junior High School Students. IJARIIE International Journal, 3(2),

-3406. Retrieved from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.1039.1005

&rep=rep1&type=pdf

Meryance V. Siagian. (2019). Development of Learning Materials Oriented on Problem-Based Learning

Model to Improve Students’ Mathematical Problem Solving Ability and Metacognition Ability.

International Electronic Journal of Mathematics Education, 14(2), 331-340. Retrieved

from https://doi.org/10.29333/iejme/5717