สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการร่วมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ (2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น และ (3) เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาการร่วมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย และผู้ปกครอง จำนวน 345 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละและวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก .36-.84 ค่าความเชื่อมั่น .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก .40-.92 ค่าความเชื่อมั่น .98 (3) แบบสัมภาษณ์ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม ได้แก่ การร่วมส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา (3) แนวทางพัฒนา ประกอบด้วย 1) ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กทานอาหารที่มีประโยชน์ 2) ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก 3) ผู้ปกครองควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และ 4) ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสุขภาพจิต. (2564). คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและครอบครัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. http://www.mhso.dmh.go.th/fileupload/20210729815626897.pdf
กรมอนามัย. (2564). แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประเทศไทย. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/
DATA0002/00002647.PDF
เก็จกนก เอื้อวงศ์.(2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ.
ชานนท์ จักรใจ และคณะ. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านถ้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ชนม์ธิดา ยาแก้ว และคณะ. (2561). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 1-13.
ณิชาภัทร คงชุม, ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ และสำเริง จันชุม. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในยุคประเทศไทย 4.0 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังไกร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์,
(2), 227-228
ธันย์ สุภาแสน. (2563). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
บุญเรือง คงสิม.(2556). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองในสถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 [วิทยานิพนธ์ ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ประพา หมายสุข. (2564, 3 พฤษภาคม). การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์ สังคม จิตใจ ยุคโควิด 19.
https://www.youtube.com/watch?v=jY0cnr28ejU
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. 136(56 ก). 7.
ภูมิศรันย์ ทองเลี่ยมนาค. (2565). ช่วงมองมติสุขภาพจิตการศึกษาไทย กับการระบาดระลอกใหม่รับเปิดเทอม 2564. https://research.eef.or.th/interview-pumsaran- tongliemnak
รัตนา แสงบัวเผื่อน และวิษณุ ทรัพย์สมบัติ (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลให้มี ความยืดหยุ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 5-17.
ศิริขวัญ ดวงใจ. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริม
พัฒนาการของนักเรียน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย
[การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.
กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2563, 3 พฤษภาคม). รายงานผลการประเมินตนเองของ สถานศึกษาตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ปีการศึกษา 2564. https://www.bkn.go.th
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
พิมพ์ครั้งที่ 1/2560. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563). โรงเรียนหยุด การเรียนรู้ไม่หยุด เสริมพัฒนาการปฐมวัยอย่างไร
ในช่วงโควิด. https://www.bangkokbiznews.com/social/879530
Abie Ntekane. (2018). Parental Involvement in Education. School Community Journal, 35(1), 28-35.
Janice H. Kim, Mesele Araya, Belay Hagos Hailu. (2021). The Implications of COVID‑19
For Early Childhood Education in Ethiopia: Perspectives from Parents and Caregiver. Early Childhood Education Journal, 2021(49), 855-867.
Rini Sefriani, Rina Sepriana. (2021). International Journal of Evaluation and Research in Education, 29(2), 36-46.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2021). Caring for your Child During COVID-19. Thailand. United Nations Office.