การพัฒนากิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เสาวลักษณ์ สาลี
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการอ่านจับใจความตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.47/85.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียน เท่ากับร้อยละ 85.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.33, S.D.=0.58)

Article Details

How to Cite
สาลี เ., สุภัควรกุล ช., & นาชัยฤทธิ์ ด. (2023). การพัฒนากิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(2), 106–115. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/263267
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติยาภรณ์ คนไว. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยโดยใช้เทคนิค SQ4R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M126703/Khonwai%20Kittiyaporn.pdf

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

ชุติมา ยอดตา. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/M125440/Yodta%20Chutima.pdf

ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล. (2561). การอ่านให้เก่ง (พิมพ์ครั้งที่ 17). ภาพพิมพ์.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). ตักสิลาการพิมพ์.

มะลิวัลย์ อ่วมน้อย, นิตยา สุวรรณศรี และพิมผกา ธรรมสิทธิ์. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9(2). 77-88.

มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920975.pdf

ศิริอร เมี้ยนมิตร. (2561). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5164

สมหมาย เพ็งแก้ว. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเนื้อหาบริบทท้องถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. http://oservice.skru.ac.th/ebook/lesson.asp?title_code=1633

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน (พิมพ์ครั้ง 1). เทคนิคพริ้นติ้ง.

หัตถกาญจน์ อารีศิลป์, ดิเรก หงส์ทอง, สุรชัย บุญญสิริ และนลิน สินธุประมา. (2565). ณ ขณะอ่าน: บทเรียนฝึกทักษะ “การอ่าน” สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา. สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Atmaja, A. T., Untari, E., & Sutansi, S. (2020). Improved Learning Outcomes to Understand The Contents And Mandate of Poetry Using The Survey-Question-Read-Reflect-Recited-Review (SQ4R) Model for Grade IV Elementary School Students. International Webinar Series-Educational Revolution in Post Covid Era, 1-9.

DEWI, R. S.. (2018). The Impact of Survey-Question-Read-Recite-Reflect- Review SQ4R Method to the Students’ Reading 2017/2018. Artikel Skripsi Universitas Nusantara PGRI Kediri, 1(12), 1-9.

Moon, R. C., & Kwan, S. H. (2022). Improving Students’ Intensive Reading Ability by Using Survey-Question-Read-Review-Recite-Reflect Method. JELITA, 12-21.