แอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้แอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา เช่น ครู ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นต้น ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 368 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และจำนวน 80 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นในการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 3) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 โดยผู้เชี่ยวชาญ และ 4) แอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันแบบสำรวจความคิดเห็นครูอันชาญฉลาดเพื่อการศึกษาไทย เวอร์ชัน 1.0 โดยใช้หลักการพัฒนาซอฟต์แวร์ของกระบวนการ SDLC แอปพลิเคชันทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวก คล่องตัว ช่วยลดเวลาในการจัดทำแบบสอบถามและรวบรวมแบบสอบถาม สามารถนำข้อมูลแบบสอบถามออกมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษและประหยัดเวลา 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.39)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กีรติ หนึ่งละออง. (2555). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). http://kerati-nuallaong.blogspot.com/
เกรียงไกร แก้ววงษ์เขียว. (2555). ระบบช่วยพัฒนาและประเมินผลแบบสอบถามออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=321141
ขวัญจิรา เอกรัมย์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจองผู้ฝึกสอนส่วนตัว กรณีศึกษา Soul Health Club. [โครงงานนักศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ]. ระบบคลังข้อมูลผลงานวิชาการ BRU. https://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5567
ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม. (2562). บทสรุปทุกสังกัด ปี 2562. https://mhkpeo.go.th/
โชคชัย เปลี่ยนไพโรจน์. (2552). การพัฒนาแบบสอบถามออนไลน์สำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมการเรียนรู้ไอทีทางการแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 53(4), 315-334.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2561). ประเด็นยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. https://www.rmu.ac.th/strategic
ศิริวรรณ ดับทุกข์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3668
สากล ใจสู้ศึก. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเห้วยบางทรายตอนบนในพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2557/109809/
สุพัตรา สุภาพ. (2545). วัฒนธรรมองค์กร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของ สป. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). http://www.reo9.obec.in.th/gis/eoffice/10000001tbl_datainformation/20180503044526jNhZL3x..pdf
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Admingramickhouse. (2020). Application (แอปพลิเคชั่น). https://bizidea.co.th/whats-application/
Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.1977.
Fled M.P. man. (1971). Psychology in the Industrial Environment. London: Butterworth and Co., Ltd.
Foster, Charles R.F. & Richard, C. (1952). Psychology of Life Adjustment. Chicago: American Technical.
Senn, J. A. (2004). Information technology: Principles, practices, opportunities (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.