การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

Main Article Content

อภิชา บูรณะพิมพ์
ชลลดา ธรรมประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลัง โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ประชากร คือ เด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามจำนวน 47 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2/1 จำนวน 16 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาความสามารถในทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) มีคะแนนหลังการจัดประสบการณ์ที่สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดประประสบการณ์ 2) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) โดยการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) มีความก้าวหน้าของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ดังนี้ ด้านการจดจ่อใส่ใจมีความก้าวหน้าของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.53 ด้านการควบคุมอารมณ์มีความก้าวหน้าของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.95 และด้านการติดตามประเมินตนเอง มีความก้าวหน้าของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยล 66.66

Article Details

How to Cite
บูรณะพิมพ์ อ., & ธรรมประเสริฐ ช. (2023). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) โดยใช้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(2), 17–27. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/265798
บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง, ธนพรรณ เพชรเศษ และเกษร ขวัญมา. (2562). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหาร ประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค. The Development of Executive Functions for Preschool Children Through STEM Education Learning Experience Provision on Local Thai Dessert 4 Region. (รายงานผลการวิจัย) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คันธรส ภาผล. (2563). ผลการจัดกิจกรรมนิทานหุ่นเงาที่ส่งผลต่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสมอง สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์สารมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 100-113

ดุษฎี อุปการ. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันของเด็กอนุบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59943

ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ควรเลือกใช้หลักการใด “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”. วารสาร สาขามนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1635.

นิตยา พิมพ์ทอง. (2564). การส่งเสริมทักษะทางสมอง EF (Executive Function) ของชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2546). การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยศึกษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 7(3), 23-25

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมาลี หมวดไธสง. (2554). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University (SWU). http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Sumalee_M.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบันอาร์แอลจี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะ สมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. สถาบันอาร์แอลจี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. บริษัทพิมพ์ดี จํากัด.

อัญชลี รังสีทอง. (2556). การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Best, John. (1977). Research in Education. Prentice Hall, Inc.1977.