การพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดเกมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดเกมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดเกมการศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านบรมสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดเกมการศึกษาที่ใช้ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดเกมการศึกษา 3) แบบทดสอบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ และสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ชุดเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดเกมการศึกษา ทั้ง 4 ทักษะ พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ชุดเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กมลวรรณ อังศรีสุรพร. (2567). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยสู่ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 12(2), 495-506.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. คุรุสภาลาดพร้าว.
ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/file_att1/2020080758421228120_fulltext.pdf
นิลรัตน์ โคตะ, กมลวรรณ ทศช่วย, ฐพัชร์ โคตะ, รัชชานนท์ ศรีแสงจันทร์ และ วิลัยลักษณ์ โคตะ. (2566). การใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ, 5(1), 25-37.
ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตรปริทัศน์, 32(1), 20-27.
สิริกานต์ สุภาแสน, รินรดา สันติอาภรณ์ และ เกษตร แก้วภักดี. (2566). การออกแบบเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการจับคู่ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับกลาง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 296-308.
โสภิดา โคตรโนนกอก. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดเกมการศึกษา เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 39-50.
อทิตยา มีมุข และ ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก. (2565). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 394-400.
อรุณี หรดาล. (2563). การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตรปริทัศน์, 34(2), 1-10.
อัชราภรณ์ ฟักปลั่ง และ ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2564). การพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 139-150.