ผลการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ประเสริฐ ปะระทัง
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 35 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนนักเรียนรวม 70 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิด จำนวน 8 แผน 3) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ปะระทัง ป., สุวรรณจินดา ด., & จินดานุรักษ์ ท. (2024). ผลการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(3), 167–180. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/275096
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา มหาลี. (2553). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการสอนแบบชัดเจนร่วมกับการสะท้อนความคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คงศักดิ์ วัฒนะโชติ. (2558). กิจกรรมค่ายทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

จุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2557). ประวัติ ปรัชญา วัฒนธรรม และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะ วิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. (หน่วยที่ 1, น. 1-62). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแนวคิดและวิธีการ. วัฒนาพานิช.

เบญจา เรืองเสมอ. (2549). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้โดยเน้นเทคนิคการตั้งคําถามที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปริณดา ลิมปานนท์. (2547). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ของครูตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณนิภา ทับทิมทอง. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การทดลองวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. สุวีริยาสาส์น.

ลือชา ลดาชาติ และ ลฎาภา สุทธกูล. (2555). การสํารวจและพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(2), 73-90.

ลำเจียก กำธร, จิณัฐตา ศุภศรี, และ ฐาปนี อัครสุวรรณกุล. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 15-27.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 8(2), 28-38.

เสาวนีย์ เกิดด้วง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกชัย วิเศษศรี. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Abd-El Khalick, F.,Bell, R. L., & Lederman, N. G. (1998). The nature of science and instructional practice: Making the unnatural natural. Science Education, 82(4), 417-436.

Abd-El-Khalick, F., & Lederman, N. G. (2000). The influence of history of science course on student’ views of the nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 37(10), 1057-1095.

Abd-El-Khalick, F., Bell, R. L., & Schwartz, R. S. (2002). View of nature of science questionnaire: Toward valid and meaningful assessment of learners’ conceptions of nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 39(6), 497-521.

Fishwild, J. E. (2005). Modeling instruction and the nature of science. [Master,s thesis, Wisconsin-Whitewater University].

Hodgin, E., & Kahne, J. (2018). Misinformation in the information age: what teachers can do to support Students. Social Education, 82(4), 208-212.

Khishfe, R., & Lederman, N.G. (2006). Teaching nature of science within a controversial topic: Integrated versus nonintegrated. Journal of Research in Science Teaching, 43(4), 395-418.

Khishfe, R. (2008). The development of seventh graders’ views of nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 45(4), 470-496.

Lederman, N.G., & O’Malley, M. (1990). Student’s perceptions of tentativeness in science: Development use and sources of change. Science Education, 74(2), 225-239.

Lederman, N. G. (2002). Views of nature of science queationaire: Toward valid and meaningful assessment of learner’s conception of nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 39(6), 497-518.

Losh, S.C., Tavani, C.M., Njoroge, R., Wilke, R., & McAuley, M. (2003). What does education really do? Educational dimensions and pseudoscience support in the American general public. The skeptical Inquirer, 27(5), 30-36.

Matthews, M. R. (1994). Science teaching: The role of history and philosophy of science. Routledge.

McComas, W. F. (1998). The principal elements of the nature of science: Dispelling the myths. The Nature of Science in Science Education. Kluwer Academic Publishers.

Rudge, D.W., & Howe, E.M. (2009). An explicit and reflecttive approach to the use of history to promote understanding of the nature of science of science. Science & Education, 18(5), 561-580.

Schwartz, R. S., Lederman, N. G., Khishfe, R., Lederman, J. S., Matthews, L., & Liu, S. Y. (2002). Explicit/Reflective instructional attention to nature of science and scientific inquiry: impact on student learning. The Annual International Conference of the Association for the Education of teachers in Science, 22(1), 1-22.

Schwartz, R. S.,Lederman, N. G., & Crawford, B. A. (2004). Developing views of nature of science in an authentic context: An explicit approach to bridging the gap between nature of science and scientific inquiry. Science Education, 88(4), 610-645.