การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคุย อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ซึ่งได้รับการเลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด จำนวน 7 แผน มีความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ข้อสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.88 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.89 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กนิษฐา ภูสมศรี และ จริยา พิชัยคำ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติกุล แก้วกาหลง และ ดนิตา ดวงวิไล. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13(3), 45-58.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บังอร ใจกลางเมือง, พระวิทวัส โกฉกรรจ์ และ อนุษา ใหม่ศรี. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัด ศรีสว่าง. วารสารศาสตร์การสอน (Journal of Teaching Science), 2(2). กรกฎาคม-ธันวาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
ศิริรัตน์ นีละคุปต์. (2538). การใช้แผนการสอนในกิจกรรมการอ่านระดับประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. ไทวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565. กระทรวงศึกษาธิการ.
สุพิชญา วัลลิยะเมธี. (2560). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหาดสองแคว อําเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และ ธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรม และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(3), 2555-2566.
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives: complete edition. Addison Wesley Longman, Inc.
Bloom, B. S. (Ed.). (1956). Taxonomy of education objectives Book 1-Cognitive domain. David McKay Company.
Buzan, T. (2006). Mind mapping. Pearson Education.
Campbell, D. T., & Stanley, J. C. (2015). Experimental and quasi-experimental designs for research. Ravenio books.
Goebel, J., & Maistry, S. (2019). Recounting the role of emotions in learning economics: Using the Thresh old Concepts Framework to explore affective dimensions of students’ learning. International Review of Economics Education, 30, 100145.
Gordon, W JJ. (1961). Synectics: The Development of Creative Capacity. New York: Harper&Row.
Joyce, B., & Weil. M. (1996). Models of Teaching (5th ed.). New York: Allyn & Bacon.